วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขยะอิเล็คทรอนิกส์ ( e-waste)


ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste
คือขยะที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ประกอบด้วย พีซี จอมอนิเตอร์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งมีส่วนผสมของโลหะมีพิษชนิดต่างๆ อยู่ในตัว อาทิ สารตะกั่ว สารปรอท และแคดเมียม รวมทั้งสารเคมีอีกสารพัดชนิด และจะ เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรงทันที หากมีโอกาสเข้าไปปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการนำขยะเหล่านี้ มาทิ้งบนพื้นดิน อันตรายจากสารพิษที่ได้จากการเผา หรืออันตรายจากการนำพีซีมาแยกชิ้นส่วนด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง

ขยะดังกล่าวไม่อาจสูญสลายไปตามธรรมชาติได้ และถูกจัดว่าเป็น “ขยะพิษ” ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มี ดังนี้

1. ตะกั่ว (Lead)

เป็นโลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ฉาบจอแก้ว พิษของตะกั่วจะทำลายระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ไต ระบบเลือด และการพัฒนาสมองของเด็ก พิษเรื้อรังของตะกั่ว จะค่อยๆ แสดงอาการออกมา ภายหลังจากได้รับสารตะกั่วทีละน้อยเข้าสู่ของเหลวในร่างกาย และค่อยๆสะสมในร่างกาย

2. หลอดรังสีแคโทด (Cathode Ray Tube : CRT)

หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ และจอมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ ยังใช้ตะกั่วในการบัดกรีส่วนประส่วนประกอบอิเล็กโทรนิคส์ต่างๆ บนแผงวงจรไฟฟ้า

3. แคดเมียม (Cadmium)

พบในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัสดุกึ่งตัวนำ (Semiconductors) อุปกรณ์ตรวจจับอินฟราเรด (Infrared Detectors) หลอดภาพรุ่นเก่า เป็นต้น แคดเมียมเป็นสารที่มีพิษอย่างเฉียบพลัน ต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรง ไตวาย ไตถูกทำลาย มีโปรตีน ในปัสสาวะ ร่างกายขับกรดอะมิโน กลูโคส แคลเซียม และฟอสเฟตในปัสสาวะมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นนิ่วในปัสสาวะได้ โรคปวดกระดูก โรค อิไต-อิไต ปวดสะโพก (Hip Pain) ปวดแขน ขา (Extremity Pain) มีวงแหวนแคดเมียม (Yellow Ring) ปวดกระดูก (Bone Pain) ปวดข้อ (Joint Pain) มีความผิดปกติที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีลักษณะเตี้ย หลังค่อม

4. ปรอท (Mercury)

ถูกใช้ในชิ้นส่วนไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เทอร์โมสตัท (Thermostat) รีเลย์ แบตเตอรี่ สวิตช์ขนาดเล็กบนแผงวงจรอุปกรณ์ตรวจวัด (Measuring Equipment) ปรอทเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น

5. โบรมีน (Bromine)

โบรมีน เป็นสารก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และรูปทรงของกล้ามเนื้อหัวใจ สามประกอบโบรมีน ใช้เป็นตัวหน่วงการลุกติดไฟ (Brominated Flame Retardants, BFRs) ของตัวตู้คอมพิวเตอร์ และแผงวงจร หมึกพิมพ์ เป็นสารก่อมะเร็ง และสารประกอบฟอสเฟตที่ใช้เคลือบภายนอกหลอดภาพ CRT มีความเป็นพิษสูงเพราะมีส่วนผสมของ แคดเมียม สังกะสี และวานาเดียม เป็นต้น

6. คลอรีน (Chlorine)

คลอรีนปรากฏอยู่ในพลาสติก พีวีซี ซึ่งก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งไดออกซิน เมื่อพลาสติกถูกเผา สารเคมีชนิดนี้มีผลต่อระบบหายใจ ระคายจมูก และทำให้เคลือบฟันผุ


ยูเอ็น ประมาณว่า ในอีกไม่นาน ขยะอิเล็กทรอนิกส์โลกจะมีไม่ต่ำกว่า 40 ล้านตัน ปัญหานี้ จะยิ่งเลวร้ายลงอีก หากไม่ใส่ใจแก้ไขอย่างจริงจัง ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะทวีความรุนแรง ไม่เพียงก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จึงเป็นที่มาให้ยูเอ็น ริเริ่มโครงการบรรเทาปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Solving the E-Waste Problem:StEP) เพื่อรณรงค์ การลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ภายใจ้ความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีบริษัทด้านไอที หลักๆ ที่เข้าร่วมเช่น ไมโครซอฟท์ อีริคสัน ฮิวเลตต์ – เเพคการ์ด (HP) และเดลล์ เพื่อสร้างมาตรฐานการรีไซเคิลอุปกรณ์ ให้เป็นมาตรฐานโลก และขยายอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น