วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนางูสามารถเห็น ในเวลากลางคืน

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาได้เป็น ครั้งแรกว่าทำไมงูจึงสามารถระบุตำแหน่งของหนูที่อยู่ห่างออกไป 1 เมตรได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และสามารถจัดการเหยื่อได้อย่างรวดเร็วในเวลากลางคืนที่มืดมิดเป็นที่ทราบกันมานานหลายสิบปีแล้วว่างูหางกระดิ่ง งูหลาม งูเหลือม มีอวัยวะที่อยู่ระหว่างลูกตากับรูจมูก ซึ่งสามารถรับสัญญาณแม้เป็นรังสีอินฟราเรดที่มีกำลังอ่อนมาก งูบางชนิดเช่นงูหางกระดิ่งพันธุ์ที่พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ และทางเหนือของเม็กซิโกมีความสามารถนี้มากกว่างูชนิดอื่น ๆ ถึง 10 เท่า และด้วยอวัยวะนี้ทำให้งูสามารถแกะรอยและฆ่าเหยื่อแม้อยู่ในที่มืดมิด แต่คำถามคืองูสามารถเปลี่ยนคลื่นความร้อนหรืออินฟราเรดเป็นกระแสประสาทสั่ง การได้อย่างไร

เดวิด จูเลียส นักชีวโมเลกุลของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตซานฟรานซิสโก กล่าวว่า เมื่ออวัยวะที่อยู่ระหว่างตากับรูจมูกของงูจับสัญญาณรังสี อินฟราเรดซึ่งเป็นความร้อนได้แล้ว เยื่อหุ้มเซลล์ขนาดเล็กมาก ซึ่งอยู่ภายในอวัยวะดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเพราะเยื่อหุ้มเซลล์อยู่ข้างในของอวัยวะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูโพรงจึงมีความไวมากต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิของเยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนแปลงก็จะส่งสัญญาณไปยังเส้นประสาทที่ ทำหน้าที่รับรู้สิ่งรอบข้าง

กระบวนการทางเคมีเหล่านี้บ่งบอกว่างู รับรู้สิ่งรอบข้างจากความร้อนมากกว่าที่จะมองเห็นด้วยตา ดังนั้น งูจึงไม่จำเป็นต้องมองเห็นในกลางคืนอันมืดมิดก็สามารถเข้าถึงเหยื่อของมัน ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ในมนุษย์ก็มีกลไกคล้าย ๆ กันนี้ เพียงแต่ไม่ได้เปิดการทำงานของกลไกด้วยความร้อนเหมือนกับงู .-



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น