วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

'หนอนแมลง' ทำรังใต้ผิวหนัง อุบัติการณ์ใหม่... ภัยใกล้ตัว!


หลังจากที่มีข่าวโอละพ่อ! ว่าพบโรคประหลาดแมลงบินออกมาจากผิวหนังมนุษย์ สร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนจนแพทย์ต้องออกมาชี้แจงว่าเป็นเหตุเข้าใจผิด และพิสูจน์แล้วพบว่า เป็นเรื่องเท็จที่กุขึ้นมาเองจากความผิดปกติทางประสาทของผู้ป่วย แต่ล่าสุดได้เกิดอุบัติการณ์ใหม่ชวนสยองขวัญขึ้นในประเทศไทยจริง ๆ โดยมี ตัวหนอนแมลงทำรังอยู่ใต้ผิวหนังของคนไทยที่ติดเชื้อมาจากประเทศในแถบอเมริกา ใต้!!

นายแพทย์อภิชาติ ธน พัฒน์เจริญ แพทย์ด้านศัลยแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ให้ความรู้ถึงอุบัติการณ์ใหม่นี้ว่า ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งเพราะมันไม่ใช่แมลงของไทยแต่เป็นแมลงของ ต่างประเทศ ซึ่งยังไม่เคยมีรายงานพบในประเทศไทยมาก่อน เราพบว่าเมื่อไม่นานมานี้มีคนไทย 5 คนเดินทางไปถ่ายทำสารคดีที่ประเทศบราซิลแล้วถูกยุงกัดจนเป็นตุ่มแดงทุกคน จากนั้นเดินทางกลับมาเมืองไทยก็พบว่าอาทิตย์แรก 2 ใน 5 คนมีอาการตุ่มแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น และอาทิตย์ต่อมาตุ่มแดงมีลักษณะคล้ายฝีและมีหนองปนน้ำเหลืองไหลออกมาจากรู ตรงกลางตุ่ม จึงรีบเดินทางมาพบแพทย์

เมื่อสอบถามประวัติทราบว่าผู้ป่วยเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศในแถบอเมริกา ใต้ ทำให้เชื่อว่าน่าจะมีหนอนแมลงทำรังอยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อผ่าออกมาก็พบว่ามีหนอนแมลงอาศัยอยู่จริง โดยมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 ซม. และยังมีชีวิตอยู่ด้วย สาเหตุที่ทราบว่ามีหนอนแมลงอาศัยอยู่ใต้ผิวหนังเพราะก่อนหน้านี้เมื่อปีที่ แล้วหมอเคยมีประสบการณ์พบคนไข้เป็นชาวอังกฤษเดินทางไปทำงานที่ประเทศใน แถบอเมริกาใต้และเดินทางมาพักผ่อนที่ประเทศไทย เกิดมีอาการลักษณะคล้ายกันคือ มีตุ่มแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 ซม. จึงเดินทางมาพบแพทย์และ ระบุอาการว่ารู้สึกเหมือน มีแมลงเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวหนัง

ตอนแรกหมอฟังแล้วก็ไม่เชื่อว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจริง จึงได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคนี้ในประเทศแถบ อเมริกาใต้ พบรายงานว่ามีประชาชนในแถบนั้นเป็นโรคนี้กันจริง ๆ และถือว่าเป็น โรค ๆ หนึ่ง ที่แพร่หลาย ทั่วไปในพื้นที่ที่นั่น จึงตัดสินใจผ่าตัดก้อนนั้นออกให้คนไข้ ปรากฏว่าพบหนอนแมลงจริง ๆ ลำตัวหนอนแมลงมีขนาดยาวประมาณ 1-2 ซม. ลักษณะยืดได้หดได้สีขาวใส ๆ มีหนามแหลม ๆ สีดำล้อมรอบตัว จากประสบการณ์นี้เองทำให้เราต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งส่งดีเอ็นเอ (DNA) ของตัวหนอนแมลงตัวนี้ไปตรวจในที่ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อยืนยันว่าเป็นดีเอ็นเอของแมลงพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่ในแถบอเมริกาใต้และ แอฟริกา

แมลงตัวนี้มีชื่อเรียกว่า “เดอมาโตเบีย โฮมินิส”(Dermatobia hominis) เป็นแมลงพันธุ์หนึ่งลักษณะคล้ายแมลงวันบ้านเรา แต่มีความฉลาดที่น่าสนใจมาก เพราะวงจรชีวิตของมันจะไม่เหมือนแมลงทั่วไป โดยแมลงส่วนใหญ่จะมีวงจรชีวิตเหมือนกัน คือการผ่านกระบวนการเป็นไข่ และกลายเป็นตัวหนอน จากนั้นค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างเป็นดักแด้ไปอาศัยอยู่ในดิน และกลายเป็นแมลงในที่สุด แต่ตัวเดอมาโตเบีย โฮมินิส จะใช้วิธีวางไข่ในยุงและใช้ยุงเป็นพาหะในการปล่อยตัวอ่อนเข้าไปในผิวหนังของ คนหรือสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด เช่น วัว ควาย ม้า สุนัข ฯลฯ ทางรอยกัดและฝังไข่เข้าไป โดยตัวอ่อนจะไชเข้าไปฝังตัวในผิวหนังและกลายเป็นตัวหนอน เมื่อตัวหนอนแก่เต็มที่แล้วจะคลานออกมาจากตัวคนและตกไปอยู่ในดินเพื่อไป เจริญเติบโตต่อเป็นช่วงดักแด้ในดินและค่อย ๆ กลายมาเป็นแมลง
ระหว่างที่มันอาศัยอยู่ในผิวหนังนั้นมันจะกินเนื้อเยื่อของเราโดยใช้น้ำย่อย ให้กลายเป็นของเหลวเพื่อเป็นอาหารและทำปฏิกิริยา ร่างกายเราก็สร้างพังผืดเป็นแคปซูลห่อหุ้มตัวมันจากการถูกกระทบกระเทือนและ วิธีการขับถ่ายของมันจะถ่ายออกมาเป็นน้ำด้วยเช่นกัน นอกจากนี้มันยังเจาะรูผิวหนังเราเอาไว้เพื่อหายใจและรอให้แก่เต็มที่ มันก็จะคลานออกมาทางรูที่มันเจาะไว้ จึงทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นของเราบวมแดงเป็นก้อนและมีน้ำหนองปนน้ำเหลืองไหล ออกมา เราจะไม่มีอาการปวดรุนแรงเหมือนฝี ทั่วไป แค่แสบ ๆ คัน ๆ เคือง ๆ เท่านั้น โดยมันจะใช้เวลาอยู่ในผิวหนังเราหลังจากวางไข่ที่ผิวหนังแล้วประมาณ 1 เดือนครึ่ง หรือประมาณ 6 อาทิตย์

จากการศึกษาพบว่าโรคนี้ระบาดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ และสำหรับการรักษาของแพทย์ที่ต่างประเทศมีหลายแบบและแบบที่ประชาชนเลือกใช้ กันทั่วไปคือ ใช้ครีม วาสลินอุดรูที่มันเจาะเอาไว้ เพื่อใช้หายใจจนมันตาย และบีบเอาตัวมันออกมา ซึ่งประชาชนแถบนั้นถือเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าโรคนี้เกิดแพร่ระบาดขึ้นในประเทศไทยก็คงไม่มีใครอยากจะเป็นแน่นอน

ดังนั้นหากใครที่มีความจำเป็นที่จะเดินทางไปต่างประเทศในแถบอเมริกาใต้และ แอฟริกา ไม่ว่าจะไปในป่าหรืออยู่ในตัวเมืองก็ควรจะป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัดด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ป้องกันยากเหมือนกัน เพราะผู้ป่วยคนไทยที่ถูกยุงกัดก็ถูกกัดในเมืองหลวงของประเทศบราซิล ฉะนั้นทางที่ดีควรศึกษาข้อมูลของอาการของโรคไว้จะดีที่สุด เช่น ถ้าเป็นตุ่มถูกยุงกัดปกติจะมีตุ่มนูน ๆ นิดหน่อยประมาณ 2-3 วันก็จะยุบหายไปเอง แต่ถ้าเป็นตุ่มที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นก้อนประมาณ 2-3 ซม. ลักษณะบวมแดง คล้ายเป็นฝี แต่หายช้า ไม่เจ็บปวดเหมือนเป็นฝีทั่วไป และเริ่มมีรูตรงกลางหรือมีน้ำเหลืองปนน้ำหนองไหลออกมา หรือรับประทานยาแก้อักเสบก็ไม่หาย ควรรีบมาพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม สำหรับ วงการแพทย์เองก็ควรจะศึกษาเรื่องนี้ไว้ เพราะถ้าแพทย์บางคนไม่มีประสบการณ์จะวินิจฉัยคนไข้ว่าเป็นฝีและวิธีการรักษา ก็คือให้ยาคนไข้ไปรับประทานหรือทำการผ่าเปิดฝีเพื่อระบายหนอง ซึ่งถ้าไม่เจอตัวหนอนแมลง แล้วคนไข้คนนั้นกลับบ้านไปและพบว่าหนอนแมลงคลานออกมาจากบาดแผลหรือพบซากหนอน ภายหลังก็จะทำให้เข้าใจผิดคิดว่าแพทย์ผ่าตัดด้วยวิธีที่ไม่สะอาดทำให้มี หนอนอยู่ในบาดแผลก็จะกลายเป็นปัญหาเรื่องการฟ้องร้องกันตามมาอีก ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่วงการแพทย์ควรทราบรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องควรร่วมหามาตรการเพื่อมิให้หนอนแมลงเข้ามาแพร่พันธุ์ในประเทศไทยในอนาคต

ถึงแม้โรคนี้จะไม่เป็นอันตรายถึงกับชีวิตก็ตาม แต่ถ้าเราไม่สามารถหยุด วงจรนี้ได้ ในอนาคตประเทศไทยจะเกิดแมลงตัวใหม่ขึ้นและทำให้เรามีโรคใหม่เกิดขึ้นตามมา โดยที่เราไม่สามารถ ป้องกันได้

ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าถ้าหากใครถูกยุงกัดและโดนวางหนอนแมลงในผิวหนังจะรู้สึกขยะแขยงขนาดไหนถ้า จะต้องมีหนอนคลานออกจากตัว...!!!.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น