น้ำท่วมกรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ ปี2526 และปี2538
พ.ศ. 2526 เกิดเหตุการร์น้ำท่วมกรุงเทพอย่างหนัก สาเหตุจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือ-ภาคกลาง ประกอบกับพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคมนานกว่า 4 เดือน จึงส่งผลกระทบเกิดปัญหาวิกฤตน้ำท่วมในปี 2526 โดยเฉพาะปัญหาจราจรที่รถกับเรือใช้เส้นทางเดียวกัน
ปี พ.ศ. 2538 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ประสบกับน้ำท่วม ในช่วงที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น้ำเหนือหลากท่วมอยุธยา ปทุมธานี หมู่บ้าน white house ตอนเหนือของกรุงเทพฯ น้ำท่วมร่วม 2 เดือน
ส่วนปี พ.ศ.2549 นั้นเกิดอุทกภัยทางภาคเหนือ ทำให้น้ำเหนือไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดที่โดนหนักๆ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง แต่สำหรับกรุงเทพฯ นั้นน้ำท่วมเฉพาะบางส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งไม่รุนแรงเท่าปี พ.ศ.2538
ภัยพิบัติกะทูน ปี 2531
เวลาตีสองของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 ชาวบ้าน ต.กะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ต้องประสบชะตากรรมเลวร้ายที่สุดในชีวิต เมื่อจู่ ๆ น้ำป่าจากภูเขาเหนือหมู่บ้านได้ซัดเอาดินโคลน หินและท่อนซุงขนาดใหญ่เข้าถล่มบ้านเรือนจนราพณาสูร ชั่ว ข้ามคืน หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นทะเลโคลน ซากปรักหักพังของบ้านเรือนนับพันหลังถูกทับถมอยู่ใต้ท่อนซุงกองมหึมา ชาวบ้านมากกว่า 700 ชีวิต ต้องสังเวยให้แก่ภัยพิบัติครั้งนี้
น้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ ปี2543 ปี2548
วันที่ 21-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เกิดฝนตกหนัก 3 วัน 3 คืน ทำให้น้ำจากเขตเทือกเขาสันกาลาคีรี บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมืองชั้นในซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะอย่างรวดเร็ว และถือเป้นเหตุการณ์น้ำท่วมมือครั้งที่เลวร้ายที่สุด สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท จำนวนผู้เสียชีวิตตามประกาศจากทางราชการ 35 คน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตจริง ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ สูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ
เกิดอุทกภัยซ้ำอีกครั้งใน 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และเขตรอบนอกของตัวเมืองหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 13-20 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งผลไม่รุนแรงเท่าในปี พ.ศ. 2543 แต่มีผู้ประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก
น้ำป่าถล่ม อ.วังชิ้น แพร่ ปี 2544
กลางดึกของวันที่ 4 พฤษภาคม 2544 น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยไหลทะลักเข้าถล่มใส่หมู่บ้านหลายตำบลของ อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 16 คน บาดเจ็บ 58 คน ถือเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ของจ.แพร่ จำได้จนขึ้นใจเลยว่า ฝนตกติดต่อกันถึง 3 วัน 3 คืนกระทั่งประมาณตีหนึ่งก็ไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่อย่างรุนแรงจนถนน-สะพาน ถูกตัดขาด บ้านเรือนถูกน้ำพัดหายไป 45 หลังคาเรือน
น้ำท่วม-ดินถล่มบ้านน้ำก้อ เพชรบูรณ์ ปี2544
ขณะที่ฝนกำลัง ตกลงมาราวฟ้ารั่วในคืนวันที่ 11 สิงหาคม 2544 ณ บ้านน้ำก้อ ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ชาวบ้านกำลังหลับใหลอย่างมีความสุข โดยไม่มีใครรู้สึกตัวว่าน้ำป่าบนภูเขาสูงกำลังเคลื่อนตัว ถาโถมเข้าใส่หมู่บ้านที่อยู่ในรัศมีทางน้ำอย่างรวดเร็ว ด้วยความบ้าคลั่งของน้ำป่าที่หอบเอาทั้งดินโคลน และต้นไม้ ได้ซัดเอาบ้านเรือนหลายสิบหลังหายไปในพริบตาในกลางดึกของวันนั้น เช้าวันรุ่งขึ้นหลังสิ้นฤธิ์ของน้ำป่า บ้านน้ำก้อ เหลือแต่สิ่งปรักหักพัง และซากศพ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้กลืนชีวิตคนหนุ่มสาว ไม่เว้นแม้เด็กและคนชราไปถึง 147 คน
ซุง-โคลนถล่มจมแม่ระมาด-ตากปี 2547
วันที่ 22 พฤษภาคม 2547 ฝนกระหน่ำลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา น้ำป่าจากบนเขาได้พัดเอาโคลนและท่อนซุงที่มีคนลักลอบตัดไว้ ลงมาถล่มเขตเทศบาลแม่ระมาด จ.ตาก ผู้คนหายไปกับสายน้ำและจมอยู่ใต้ทะเลโคลนจำนวนมาก บ้านถูกพัดหายไปทั้งหลังนับร้อย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 4 ราย และสูญหายอีกนับ 10 ชาวบ้าน 6,019 คน จาก 2,113 ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน
เชียงใหม่ น้ำท่วมหนัก ปี 2548
วัน ที่ 14 สิงหาคม 2548 ภายหลังฝนถล่มหนักในภาคเหนือตอนบน ทำให้หลายจังหวัดถูกน้ำท่วมจมบาดาล กระแสน้ำเหนือ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ได้ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองเชียงใหม่อย่างรวดเร็ว มีระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 50 ปี บ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่นับพันหลังถูกน้ำท่วมได้รับความเสีย หาย ตลาดวโรรส ตลาดลำไย ตลาดไนท์บาซาร์ระดับน้ำสูงร่วม 70 ซม. พื้นที่บางแห่งระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร
ฝนถล่ม-น้ำท่วมภาคใต้ ปี2548
ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตั้งแต่วันที่ 14-24 ธ.ค.2548 มีพื้นที่ประสบภัยรวม 8 จังหวัด คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1.6 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 25 ราย แบ่งเป็น จ.สงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 3 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราชและสตูลจังหวัดละ 1 ราย และยังมีผู้สูญหายไปอีก 1 ราย ที่ จ.ยะลา มูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท
อุทกภัยและโคลนถล่ม 5 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ปี 2549
เหตุการณ์ที่ฝนตก ผิดปกติในพื้นที่เป็นเวลาหลายวัน ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ทำให้ดินบนภูเขาไม่สามารถอุ้มน้ำฝนที่ตกลงมาได้ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม และดินถล่มในช่วงกลางคืนของวันที่ 22 พฤษภาคม 2549ต่อเนื่องถึงเช้ามืดของวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้มากที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 75 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิตและสูญหายทั้งหมด 116 ราย ใน 5 จังหวัดที่ประสบเหตุการณ์อุทกภัยและโคลนถล่มครั้งนี้
"น่าน"วิกฤติ! น้ำท่วมหนักสุดในรอบ 43ปี
อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.น่าน เกิดน้ำท่วมหนักจนสถานการณ์เข้าสู่ขั้นวิกฤติ
น้ำในแม่น้ำน่านมีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ ริมตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.ท่าวังผา ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการวัดปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านที่จุด อ.ท่าวังผา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณน้ำขึ้นสูงถึง 9.30 เมตร ซึ่งเลยจุดวิกฤติที่ 7 เมตร ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ริมฝั่ง 2 ตำบล รวม 6 หมู่บ้าน คือ ต.ป่าคา และ ต.ศรีภูมิ บ้านเรือนกว่า 3,000 หลังคาเรือนจมอยู่ใต้บาดาล ระดับน้ำสูงถึง 3 เมตร เรียกว่าท่วมเกือบมิดหลังคาบ้าน ชาวบ้านต้องอพยพหนีตายขึ้นไปอยู่บนที่สูง
สำหรับเขตเทศบาลเมืองน่าน ระดับน้ำในแม่น้ำน่านได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ บ้านท่าลี บ้านพวงพยอม และบ้านดอนศรีเสริม ขณะที่ นายธาดา สุขปุณพันธ์ ผอ.ศูนย์อุทกวิทยาและระดับน้ำ ภาคเหนือตอนบน กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ระดับน้ำที่วัดได้บริเวณสะพานผาขวาง อ.ท่าวังผา สูงถึง 13.50 ม. จากปกติ 6.50 เมตร และ น้ำท่วมครั้งนี้มีความรุนแรงเทียบเท่าเมื่อปี 2506 หรือ 43 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น