วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รำลึก 100 ปี พระปิยะมหาราช


วันที่ 23 ตุลาคม 2553 “วันปิยมหาราช” ปีนี้ เป็นปีที่พิเศษ เพราะเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตครบรอบ 100 ปี

ซึ่งรัฐบาลได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อประเทศอย่างมากมาย พระองค์ท่านได้สร้างสรรค์ปฏิรูปประเทศไทยในทุก ๆ ด้าน ให้มีความเจริญทัดเทียมอารยประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรื่องไฟฟ้า ประปา รถไฟ ไปรษณีย์ โทรศัพท์ การชลประทาน การเมืองการปกครอง และการก่อสร้างถนนต่าง ๆ เพื่อให้การคมนาคมมีความสะดวกสบายก็เกิดขึ้นในสมัยพระองค์ท่าน โดยเฉพาะเรื่องการเลิกทาส ที่ประชาชนจดจำรำลึกได้เป็นอย่างดี

อีกเรื่องที่สำคัญที่ประชาชนคนไทยทุกคนรำลึกได้ตลอดเวลา ก็คือประเทศในแถบยุโรปหลายประเทศต่างล่าอาณานิคมประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งประเทศรอบ ๆ ของไทยนั้นได้ถูกประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมของประเทศตน ยกเว้นประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่รอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของชาติฝรั่ง ตะวันตก ก็ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการใช้กุศโลบาย ทางการเมืองระหว่างประเทศ พระมหากรุณาธิคุณนานัปการ ของพระองค์ท่านนั้น ประชาชนรุ่นต่อรุ่นได้รำลึกถึงพระองค์ท่านอยู่ตลอดเวลาจนถึงปัจจุบันนี้ไม่ เสื่อมคลายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นอกจากทุก ๆ บ้านทั่วประเทศไทยจะมีพระบรมฉายาลักษณ์และพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันนี้แล้ว บางบ้านอีกจำนวนมากก็มีพระบรมฉายาลักษณ์ และพระบรมสาทิสลักษณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ติดบนผนังบ้าน หรืออยู่บนโต๊ะบูชา และอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านตามสถานที่ต่าง ๆ ก็มีประชาชนจำนวนมากมากราบไหว้บูชาขอพรกันอย่างเนืองแน่น ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทรงให้แก่ ประชาชนและประเทศชาติอยู่ในหัวใจของทุกคน เพราะประชาชนที่รำลึกบูชาเป็นประจำเชื่อว่าบารมีของพระองค์ท่าน จะทำให้ชีวิตมีความสุขสมหวังตามที่คาดหวังไว้

การ ปฏิรูปประเทศตามโลกในสมัยพระองค์ท่าน ก็เป็นรากฐานในการพัฒนาและปฏิรูปประเทศในปัจจุบันนี้ แต่การพัฒนาบางสิ่งบางอย่างของไทยเดินหน้าช้าไปกว่าประเทศในแถบเอเชียบาง ประเทศที่เริ่มปฏิรูปพร้อม ๆ กับประเทศไทย ซึ่งอุปสรรคที่ขวางการพัฒนาประเทศไม่ทัดเทียมประเทศอื่น ๆ นั้น พรรคการเมืองต่าง ๆ ที่อาสาประชาชนเข้ามาบริหารประเทศชาติจะต้องศึกษาบทเรียนที่ผ่านมาว่ามี ปัญหาอุปสรรคที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง เพื่อให้การพัฒนาประเทศเดินหน้าไปได้ถูกทิศทาง โดยให้วันรำลึก 100 ปีสวรรคตของพระองค์ท่านเป็นวันเริ่มต้นพัฒนาประเทศชาติอย่างจริงจังก็นับว่า เป็นเรื่องที่ดีทีเดียว.

ความเป็นมา

๒๓ ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว

เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่ว ประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของ ทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความ ร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระ พุทธเจ้าหลวง เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตาม ราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐาน บนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรง ม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรม วงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงิน จัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น
ต่อมาทางราชการได้ประกาศ ให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวัน ที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้า หน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวาย แล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

พระราชกรณียกิจ


* เลิกทาส
* ด้านการปกครอง
* การสาธารณูปโภค
* การศึกษา
* การปกป้องประเทศ
* การเสด็จประพาส

เลิกทาส

โปรดเกล้าฯให้ประกาศเลิก ทาสในเมืองไทย
เลิกทาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น ครองราชสมบัติทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่าจะต้องเลิกทาสให้สำเร็จให้จงได้ แต่การที่พระองค์จะทรงทำการเลิกทาสถือว่าเป็นเรื่องยากลำบากด้วยทาสนั้นมีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้เมื่อไม่มีทาสบุคคลเหล่า นี้อาจจะไม่พอใจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติทาส เรียกว่า พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเรื่องทาสในเรือนเบี้ยให้เป็นไปอย่างเด็ด ขาด โดยกำหนดให้เด็กที่เกิดจากพ่อหรือแม่ที่เป็นทาส ไม่จำเป็นต้องเป็นทาสอีกต่อไป กฎหมายโบราณแบ่งทาสออกเป็น 7 ชนิด
1. ทาสสินไถ่
2. ทาสในเรือนเบี้ย
3. ทาสได้มาแต่บิดามารดา
4. ทาสท่านให้
5. ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
6. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
7. ทาสเชลยศึก
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน และได้ใช้เวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยมิเกิดการนองเลือด เหมือนกับประเทศอื่น ๆ เลย

ด้านการปกครอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน ได้แก่
1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตก และเมืองมลายู
3. กระทรวงวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง
4. กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน
5. กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ในการดูแลควบคุมการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้
6. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
7. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา
8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ
9. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง และงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
10. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

การสาธารณูปโภค

- การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452
- การคมนาคม วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไป นครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย
- การสาธารณสุข เนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านนี้ล้าสมัยไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาล ณ บริเวณริมคลองบางกอกน้อย และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โรงพยาบาลแห่งนี้เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2431 และใช้ชื่อโรงพยาบาลว่า โรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช"
- การไฟฟ้า พระองค์ทรงมอบหมายให้ กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2433


การศึกษา

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้ขยายการศึกษา ในปี พ.ศ.2414 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังโดยมีท่านพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนอีกแห่งซึ่งสอนภาษาอังกฤษมีนาย ยอซ แปตเตอร์สัน เป็นอาจารย์ใหญ่ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงเรียนหลวงอีกหลายแห่ง โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในวัดคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ.2427 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร เขียนตำราเรียนขึ้นมา เรียกว่า แบบเรียนหลวง 6 เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาห์นิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าผู้หญิงก็สมควรที่จะได้รับความรู้เช่น เดียวกับผู้ชาย ในปี พ.ศ.2444 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่ตั้งขึ้น คือ โรงเรียนบำรุงสตรีวิทยา การปกป้องประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังในการรักษาประเทศชาติให้รอด พ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม ดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่
- พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสอบจุไทย
- พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
- พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง
- พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภรณ


การเสด็จประพาส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดการเสด็จประพาสเป็นอย่างมาก แต่มิได้ไปเพื่อการสำราญพระราชหฤทัยส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ การเสด็จประพาสภายในประเทศทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง ทรงกระทำเช่นนี้เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2440 โดยมีหมายกำหนดการเดินทางออกจากประเทศไทยในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2441 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสยุโรปเป็นเวลานาน 9 เดือน เพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และในปี พ.ศ.2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้ นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย
ในปี พ.ศ.2413 ทรงเสด็จประพาสประเทศเพื่อบ้านเป็นครั้งกรำ คือ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศชวา 2 ครั้ง การเสด็จพระราชดำเนินประเทศเพื่อนบ้านนั้นด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธ ไมตรีกับประเทศเพื่อบ้านในแถบอินโดจีน รวมถึงทรงต้องการเรียนรู้ระเบียบการปกครอง
ในปี พ.ศ.2415 เสด็จเยือนประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา อินเดียเพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองมากมาย ทั้งการสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา รถไฟ รถราง การแพทย์ การศึกษา รวมถึงระเบียบแบบแผนการปกครองประเทศ สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงมีชนมพรรษา 58 พรรษา ในบั้นปลายพระชนมชีพทรงพระประชวร เนื่องจากทรงพระชราภาพและเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 นับว่าประเทศไทยได้สูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงปล่อยทาสให้เป็นไท ทรงพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศจนเป็นที่ รู้จักของชาวต่างชาติพระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติ 42 ปี ประชาชนชาวไทยต่างรักและอาลัยพระองค์มาก และพร้อมใจถวาย สมัญานามว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระราชาผู้ยิ่งใหญ่อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย"


ลำดับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

* พ.ศ.2411 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

* พ.ศ.2412 ทรงโปรดเกล้าให้สร้าง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

* พ.ศ.2413 เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย

* พ.ศ.2415 ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่ โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง

* พ.ศ.2416 ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี โปรดให้เลิกประเพณีหมอคลานในเวลาเข้าเฝ้า

* พ.ศ.2417 โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง

* พ.ศ.2424 เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯ - สมุทรปราการสมโภชพระนครครบ 100 ปี มีการฉลอง 7 คืน 7 วัน

* พ.ศ.2426 โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนครตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2

* พ.ศ.2427 โปรดฯให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

* พ.ศ.2429 โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน

* พ.ศ.2431 เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส การทดลองปกครองส่วนกลางใหม่ เปิดโรงพยาบาลศิริราชโปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน

* พ.ศ.2434 ตั้งกระทรวงยุติธรรม ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา

* พ.ศ.2436 ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)

* พ.ศ.2440 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก

* พ.ศ.2445 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส

* พ.ศ.2448 ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง

* พ.ศ.2451 เปิดพระบรมรูปทรงม้า

* พ.ศ.2453 เสด็จสวรรคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น