"คลองเตย-ดอนเมือง-ฝั่งธนฯ-ลาดพร้าว-บางขุนเทียน" เจอแจ๊คพ็อต ความเสียหาย 1.5 แสนล้าน เผยมาจาก 4 ปัจจัยสำคัญ"ฝนชุก-แผ่นดินทรุด-น้ำหนุน-ชุมชนแน่น" แนะทางแก้"สร้างแก้มลิง"รอบกรุง
นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ให้ศึกษาแบบจำลองผลกระทบภาวะน้ำท่วม และน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชั้นในและปริมณฑล หลังจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารโลก มูลนิธิเวิลด์วิชั่น และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ได้ร่วมกันศึกษา รวบรวมข้อมูลและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ พบว่า กทม.เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชียมีความเสี่ยงสูงที่น้ำทะเลจะเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง โดยทั้ง 9 เมืองที่มีความเสี่ยงประกอบด้วยเซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง ประเทศจีน, ธากา ประเทศบังกลาเทศ, กัลกัตตา มุมไบ ประเทศอินเดีย, ย่างกุ้ง ประเทศพม่า, ไฮฟอง โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และ กทม.
นายเสรีกล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วม กทม.ชั้นในมี 4 ปัจจัย คือ 1.ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปัจจุบัน 2.แผ่นดินใน กทม.ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร 3.ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ 4.เกิดจากภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม.ที่พบว่าปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่สีเขียว ลดลงไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
"ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีประชากรใน กทม.ประมาณ 680,000 คน ได้รับผลกระทบ น้ำจะเอ่อเข้ามาท่วมอาคารที่ 1.16 ล้านหลัง ในจำนวนนี้จะเป็นบ้านพักอาศัย 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน บางบอน บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ นอกจากนี้ยังพบว่าอาคารและที่พักอาศัยเขตดอนเมืองราว 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบ รวมความเสียหายทั้งหมดประมาณ 1.5 แสนล้านบาท" ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมฯกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อมูลงานวิจัยทางศูนย์สิรินธรฯได้ดำเนินการเพื่อหาทางป้องกันปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไร นายเสรีกล่าวว่า หลังจากธนาคารโลกได้รับผลวิจัย ก็ได้ส่งเรื่องให้ผู้บริหาร กทม.สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ผลวิจัยได้เสนอวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ 1.เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือ กทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ 2.เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเร็ว และ 3.ต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม.โดยสร้างเป็นคันดินในพื้นที่ริมฝั่งทั้งหมด ระยะทาง 80 กิโลเมตร ซึ่งประเทศเวียดนามได้ดำเนินการไปแล้ว
นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ให้ศึกษาแบบจำลองผลกระทบภาวะน้ำท่วม และน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชั้นในและปริมณฑล หลังจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารโลก มูลนิธิเวิลด์วิชั่น และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ได้ร่วมกันศึกษา รวบรวมข้อมูลและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ พบว่า กทม.เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชียมีความเสี่ยงสูงที่น้ำทะเลจะเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง โดยทั้ง 9 เมืองที่มีความเสี่ยงประกอบด้วยเซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง ประเทศจีน, ธากา ประเทศบังกลาเทศ, กัลกัตตา มุมไบ ประเทศอินเดีย, ย่างกุ้ง ประเทศพม่า, ไฮฟอง โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และ กทม.
นายเสรีกล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วม กทม.ชั้นในมี 4 ปัจจัย คือ 1.ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปัจจุบัน 2.แผ่นดินใน กทม.ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร 3.ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ 4.เกิดจากภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม.ที่พบว่าปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่สีเขียว ลดลงไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
"ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีประชากรใน กทม.ประมาณ 680,000 คน ได้รับผลกระทบ น้ำจะเอ่อเข้ามาท่วมอาคารที่ 1.16 ล้านหลัง ในจำนวนนี้จะเป็นบ้านพักอาศัย 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน บางบอน บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ นอกจากนี้ยังพบว่าอาคารและที่พักอาศัยเขตดอนเมืองราว 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบ รวมความเสียหายทั้งหมดประมาณ 1.5 แสนล้านบาท" ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมฯกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อมูลงานวิจัยทางศูนย์สิรินธรฯได้ดำเนินการเพื่อหาทางป้องกันปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไร นายเสรีกล่าวว่า หลังจากธนาคารโลกได้รับผลวิจัย ก็ได้ส่งเรื่องให้ผู้บริหาร กทม.สมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ทั้งที่ผลวิจัยได้เสนอวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ 1.เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือ กทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ 2.เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเร็ว และ 3.ต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม.โดยสร้างเป็นคันดินในพื้นที่ริมฝั่งทั้งหมด ระยะทาง 80 กิโลเมตร ซึ่งประเทศเวียดนามได้ดำเนินการไปแล้ว
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น