ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพานไป พระพุทธองค์ได้สอนบทคาถาที่สวยงามที่มีชื่อเป็นภาษาบาลีของเถรวาท ในพระสูตรมหาปรินิพพานว่า
"สังขารเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบขึ้นมาเป็นอนิจจังเป็นปรากฏการณ์ที่จะต้องผ่านการเกิดและการตายเมื่อธารแห่งการเกิดและการตายนั้นจบสิ้นลงนิพพานก็กลายเป็นแหล่งแห่งความสุข"
เมื่อความคิดเห็นเรื่องการเกิดและการดับได้ถูกถอดถอนออกไป การดับสิ้นซึ่งความคิดเห็นนั้นเราเรียกว่า ความสุข เราอาจแบ่งบทคาถานี้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนต้นคือสองประโยคแรกซึ่งหมายถึง ภาวะที่ยังมีการเกิดการดับ สองประโยคสุดท้ายคือเป็นความจริงอันสูงสุด หรือปรมัตถ์ธรรม สองประโยคแรกนี้พูดถึงความเป็นจริงเปรียบเทียบ หมายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ สรรพสิ่งต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมานั้นเป็นอนิจจัง เพราะทั้งหมดจะต้องผ่านการเกิดการตาย เวียนว่ายอยู่ในนั้น เป็นประโยคที่พูดอยู่ในโลกธรรม ส่วนสองประโยคสุดท้ายพูดถึงความเป็นจริงอันสูงสุด หรือปรมัตถ์ธรรมเมื่อเราได้ถอดถอนความคิดเห็นเรื่องของการเกิดการดับ เราก็จะพบความสุขที่แท้จริง เพราะว่าการเกิดการดับเป็นเพียงความคิดเห็น ไม่ใช่ความเป็นจริง เมื่อเราฝึกอย่างลึกซึ้ง เราจะมองเห็นว่าภาพข้างนอกเหมือนกับมีการเกิดการตายอยู่ แต่เมื่อมองอย่างลึกซึ้งเธอจะเห็นว่า ไม่มีการเกิด-การตาย ไม่มีการเกิด-การดับเมื่อเรามองไปที่เมฆบนท้องฟ้า เราจะเห็นว่าเมฆไม่เคยตาย เมฆไม่เคยดับไป เมฆนั้นไม่เคยตายไปจากความไม่มีอะไรไปเป็นสิ่งที่มีอะไร แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่เมฆนั้นจะเกิดขึ้นมา เพราะว่ามีการเกิดขึ้นนั้นหมายถึง จากที่ไม่มีอะไร เธอได้เกิดเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง จากที่ไม่เคยเป็นใคร เธอเกิดขึ้นมาเป็นใครคนหนึ่ง เมฆไม่เคยเป็นแบบนั้น ก่อนที่จะเกิดขึ้นมาเป็นเมฆ เมฆได้เป็นอะไรสักอย่างมาก่อนแล้ว เช่น เป็นมหาสมุทร เป็นไอร้อนที่สร้างขึ้นจากพระอาทิตย์ ฉะนั้นเมฆไม่ได้มาจากสิ่งที่ไม่มีอะไรแล้วกลายมาเป็นเมฆ ธรรมชาติของเมฆจึงเป็นธรรมชาติของการไร้การเกิดไร้การตายธรรมบรรยายโดยท่านติช นัท ฮันห์
"สังขารเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบขึ้นมาเป็นอนิจจังเป็นปรากฏการณ์ที่จะต้องผ่านการเกิดและการตายเมื่อธารแห่งการเกิดและการตายนั้นจบสิ้นลงนิพพานก็กลายเป็นแหล่งแห่งความสุข"
เมื่อความคิดเห็นเรื่องการเกิดและการดับได้ถูกถอดถอนออกไป การดับสิ้นซึ่งความคิดเห็นนั้นเราเรียกว่า ความสุข เราอาจแบ่งบทคาถานี้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนต้นคือสองประโยคแรกซึ่งหมายถึง ภาวะที่ยังมีการเกิดการดับ สองประโยคสุดท้ายคือเป็นความจริงอันสูงสุด หรือปรมัตถ์ธรรม สองประโยคแรกนี้พูดถึงความเป็นจริงเปรียบเทียบ หมายถึงปรากฏการณ์ต่างๆ สรรพสิ่งต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมานั้นเป็นอนิจจัง เพราะทั้งหมดจะต้องผ่านการเกิดการตาย เวียนว่ายอยู่ในนั้น เป็นประโยคที่พูดอยู่ในโลกธรรม ส่วนสองประโยคสุดท้ายพูดถึงความเป็นจริงอันสูงสุด หรือปรมัตถ์ธรรมเมื่อเราได้ถอดถอนความคิดเห็นเรื่องของการเกิดการดับ เราก็จะพบความสุขที่แท้จริง เพราะว่าการเกิดการดับเป็นเพียงความคิดเห็น ไม่ใช่ความเป็นจริง เมื่อเราฝึกอย่างลึกซึ้ง เราจะมองเห็นว่าภาพข้างนอกเหมือนกับมีการเกิดการตายอยู่ แต่เมื่อมองอย่างลึกซึ้งเธอจะเห็นว่า ไม่มีการเกิด-การตาย ไม่มีการเกิด-การดับเมื่อเรามองไปที่เมฆบนท้องฟ้า เราจะเห็นว่าเมฆไม่เคยตาย เมฆไม่เคยดับไป เมฆนั้นไม่เคยตายไปจากความไม่มีอะไรไปเป็นสิ่งที่มีอะไร แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่เมฆนั้นจะเกิดขึ้นมา เพราะว่ามีการเกิดขึ้นนั้นหมายถึง จากที่ไม่มีอะไร เธอได้เกิดเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง จากที่ไม่เคยเป็นใคร เธอเกิดขึ้นมาเป็นใครคนหนึ่ง เมฆไม่เคยเป็นแบบนั้น ก่อนที่จะเกิดขึ้นมาเป็นเมฆ เมฆได้เป็นอะไรสักอย่างมาก่อนแล้ว เช่น เป็นมหาสมุทร เป็นไอร้อนที่สร้างขึ้นจากพระอาทิตย์ ฉะนั้นเมฆไม่ได้มาจากสิ่งที่ไม่มีอะไรแล้วกลายมาเป็นเมฆ ธรรมชาติของเมฆจึงเป็นธรรมชาติของการไร้การเกิดไร้การตายธรรมบรรยายโดยท่านติช นัท ฮันห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น