มารยาทการใช้ 'ตะเกียบ'เห็นอาหารญี่ปุ่นกำลังเป็นที่นิยม วันนี้เราเลยนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเรื่อง ข้อห้ามการใช้ 'ตะเกียบ' มาฝากกัน |
แม้วัฒนธรรมการกินของไทยเราจะใช้ช้อนส้อมในการตักอาหาร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้ 'ตะเกียบ' ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการกินของชาติเอเชียหลายๆชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีและเวียดนามนั้นมีบทบาทต่อคนไทยอยู่ไม่น้อย ตะเกียบเข้ามาในเมืองไทยเป็นระยะเวลานานกว่าช้อนส้อมซึ่งเป็นวัฒนธรรมการกิน ของชาวยุโรปที่ได้รับความนิยมในไทยมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตะเกียบมีความสำคัญเช่นกันเพราะอาหารจีนได้เข้ามาแทรกอยู่ในวิถีชีวิตคนไทย ที่เห็นได้ชัด คือ การใช้ตะเกียบกินก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ส่วนในปัจจุบันคนไทยก็ใช้ตะเกียบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่ออาหารญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยม วันนี้เราจึงนำข้อห้ามการใช้ตะเกียบมาฝากกัน ซึ่งจริงๆแล้วมีอยู่หลายข้อ แต่ข้อห้ามที่สำคัญมีดังนี้ 1.ห้ามปักตะเกียบ แบบเสียบให้ตั้งบนถ้วยข้าว เพราะการทำแบบนี้จะถือเป็นข้าวสำหรับคนที่เสียชีวิตแล้ว 2.ห้ามถือ ตะเกียบส่ายไปมาบนอาหารหลายชนิด โดยไม่ตัดสินใจเสียที ว่าจะเลือกอาหารชนิดใด 3.ห้ามนำตะเกียบแทงของกินหรือใช้ตะเกียบชี้คน 4.ห้าม ใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหารชิ้นที่ต้องการในถ้วยอาหาร 5.ห้ามใช้ตะเกียบเพื่อ ดึงหรือขนย้ายภาชนะอาหาร 6.ห้ามใช้ปากดูดตะเกียบ นอกจากนี้ยังถือว่า สิ่งที่หยิบและส่งต่อรับด้วยตะเกียบได้ ก็คือ กระดูกของศพที่เผาแล้วในพิธีงานศพเท่านั้น ดังนั้นจึงห้ามทำเช่นนี้บนโต๊ะอาหาร ทั้งนี้ เทคนิคในการใช้ตะเกียบถือเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก โดยในประเทศตะวันตกมีศูนย์ฝึกอบรมการใช้ตะเกียบโดยเฉพาะ และในประเทศเยอรมนีมีพิพิธภัณฑ์ตะเกียบแห่งแรกของโลกที่จัดแสดงตะเกียบจาก ทองคำ เงิน หยก และกระดูกสัตว์รวมกว่าหมื่นคู่ โดยตะเกียบเหล่านี้นำมาจากประเทศและเขตแคว้นต่างๆทั่วโลก |
วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553
มารยาทการใช้ 'ตะเกียบ'
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น