วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ลองศึกษาี ความว่าง
เรื่องความว่างถือเป็นหัวใจหรือแก่นของพระุพุทธศาสนา
ความ ว่างตามหลักพระพุทธศาสนาคือความว่างจากกิเลส (ความโลภ ความโกรธ ความหลง) ว่างจากตัณหา (ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น) ว่างจากสุข ว่างจากทุกข์ ว่างจากความรู้สึกว่ามีตัวเรา ของเรา
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักมองดูโลกโดยความเป็นของว่าง
"สุญญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต"
มีใจความว่า "เธอจงมองดูโลกโดยความเป็นของว่าง มีสติอยู่อย่างนี้ทุกเมื่อ และเมื่อเธอมองเห็นโลกอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ความตายก็จะค้นหาตัวเธอไม่พบนี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งมีใจความว่า ถ้าใครเห็นโลกโดยความเป็นของว่างอยู่แล้วผู้นั้นจะอยู่เหนือ อำนาจของความทุกข์ ซึ่งมีความตายเป็นประธาน"
"นิพฺนานํ ปรมํ สัญญํ" "นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ"
ว่างอย่าง ยิ่งคือนิพพาน นิพพานคือเครื่องนำมาซึ่งความสุขอย่างยิ่ง-อธิบายเป็นภาษาชาวบ้าน- *"นิพพาน" ที่แปลว่า ดับไม่เหลือทุกข์นั้น มีความหมายลึกลงไปว่า ***ว่างอย่างยิ่ง*** สภาวะนิพพาน ไม่สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้ (มีเพียงผู้ปฏิบัติเท่านั้นรู้ได้ด้วยตนเอง) นิพพานอยู่เหนือทุกข์เหนือสุข สรุปแบบโลกๆ (ตามความเข้าใจของดิฉันเอง) ว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้มนุษย์ทำความเข้าใจ ความจริงของชีวิตว่า ขันธ์๕ มีลักษณะเป็นกฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ไม่จีรัง มีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น จนเกิดอัตตายึดว่านี่ตัวกู-ของกู ปุถุชนอย่างเรา ที่ัยังต้องทำงานเลี้ยงชีพ การปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็มีความสุขเพียงพอแก่ฐานานุรูป ส่วนหนทางดับทุกข์ หรืออริยมรรค มีอุบายวิธี คือ สติปัฏฐาน๔ ค่ะ
ลองศึกษาี ความว่าง สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น