น้ำมันมาจากใต้ดิน ซึ่ง น้ำมัน ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน จริงๆแล้ว ก็คือซากสัตว์และซากพืชที่ตายมานานนับเป็นล้านปี และทับถมสะสมกันจนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจนซากสัตว์และซากพืช หรือฟอสซิลนั้น กลายมาเป็นน้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทนี้ว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล
ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่าต้นพืชและสัตว์รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมัน หรือก๊าซ หรือถ่านหิน ฯลฯ พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอน (คือ ธาตุไฮโดรเจนรวมกับธาตุคาร์บอน) เป็นส่วนใหญ่ และไฮโดรคาร์บอนนี้แหละเมื่อนำมาเผาจะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่น้ำมันความร้อนมากกว่าฟืน นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบสอดแทรกอื่นๆ บ้าง เช่น กำมะถัน (เวลาเอามาเผาจะรวมกับออกซิเจน ได้เป็นก๊าซพิษของกำมะถันไดออกไซด์)
โลกเราใช้เวลานานมาก (เป็นล้านปี) กว่าจะผลิตน้ำมันได้แต่ละลิตร แต่เราเอามาเติมรถยนต์ วิ่งไม่กี่นาทีก็หมดแล้ว เราจึงควรใส่ใจและคิดสักนิด เมื่อจะขับรถ เปิดไฟเปิดแอร์ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าจำเป็นก็ลดการใช้ลงบ้าง จะช่วยให้เรามีเชื้อเพลิงใช้ไปได้อีกนานๆ
การกลั่นน้ำมันดิบ
เรารู้แล้วว่าน้ำมันดิบมาจากใต้ดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำๆ จึงสูบขึ้นมาได้ มีสารไฮโดรคาร์บอนอยู่เยอะ จึงเผาแล้วได้พลังงานสูง ถ้ามีสิ่งเจือปนเยอะ เช่น มีกำมะถันเยอะ เผาแล้วจะเกิดก๊าซพิษมาก ก็ถือว่าเป็นน้ำมันดิบเกรดต่ำ น้ำมันดิบที่มีกำมะถันเจือปนน้อยถือว่าเป็นน้ำมันดี จึงมีราคาแพง น้ำมันดิบนี้จะเอามาใช้โดยตรงไม่ได้ ต้องเอาไปกลั่นที่โรงกลั่นน้ำมัน ทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เอาไว้เติม รถยนต์ รถดีเซล เรือ รถไฟ หรือเครื่องบิน น้ำมันเหล่านี้มีสมบัติต่างๆกันไปและราคาก็ไม่เท่ากัน
น้ำมันดิบเมื่อเอามากลั่นจะได้h ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี (liquefied petroleum gas) : ใช้สำหรับหุงต้มในครัว และใช้กับรถบางคัน รวมทั้งในโรงงานบางชนิด h น้ำมันเบนซิน : รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันชนิดนี้ h น้ำมันก๊าด : ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่างและใช้ในโรงงาน h น้ำมันเครื่องบิน : ใช้กับเครื่องบินใบพัด เครื่องบินไอพ่น h น้ำมันดีเซล(โซล่า) : รถเมล์ รถไฟ รถบรรทุก รถกระบะส่วนใหญ่ใช้น้ำมันชนิดนี้ h น้ำมันเตา : ใช้สำหรับเตาเผาหรือต้มน้ำในหม้อไอน้ำ (บอยเลอร์) หรือเอามาปั่นไฟหรือใช้กับเรือ h ยางมะตอย : ส่วนใหญ่ใช้ทำถนน นอกนั้นใช้เคลือบท่อเคลือบโลหะเพื่อกันสนิม
มารู้จักกับ "ค่าออกเทน" ของน้ำมันรถยนต์กัน
คือ ค่าความต้านทานการจุดระเบิดน้ำมันเบนซิน ก่อนเวลากำหนดของเครื่องยนต์หรือ ตัวเลขแสดงความต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ ถ้าค่าออกเทนสูง จะมีความต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์สูง ไม่เกี่ยวกับความแรงของเครื่องยนต์ การออกแบบเครื่องยนต์เบนซิน ของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างกัน จึงต้องใช้น้ำมันเบนซิน ที่มีค่าออกเทนแตกต่างกัน การเลือกใช้น้ำมันเบนซิน ที่มีค่าออกเทน ที่เหมาะสมกับความต้องการ ของเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ผลิตแต่ละรายกำหนดไว้ เป็นค่าออกเทน ที่ทำให้เครื่องยนต์ มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งคุณสามารถดูได้ จากคู่มือประจำรถของคุณ หรือบริเวณฝาปิดถังน้ำมันด้านในรถคุณ ส่วนเรื่องความแรง ของเครื่องยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และการดูแลบำรุงรักษา เครื่องยนต์ของคุณเอง
มารู้จักกับ "แก๊สโซฮอล์ 95" ของน้ำมันรถยนต์กัน
มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ดังนั้นนอกจากจะคุณสมบัติการใช้งานเทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป แต่มีราคาถูกกว่า 1.50 บาทต่อลิตรแล้ว ยังเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยแก๊สโซฮอล์ 95 มีไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าเบนซิน 95 ทั่วไป ช่วยลดควันดำ สารอะโรเมติกส์ สารเบนซีน และช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองจากท่อไอเสีย จึงนับได้ว่า แก๊สโซฮอล์ 95 เป็นเบนซินที่สะอาด ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โครงการแก๊สโซฮอล์ เกิดขึ้นในปี 2528 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทย อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาศึกษา ถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และได้ทดลองใช้กับรถยนต์ในโครงการส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี 2537 โดยทดสอบกับเครื่องยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้ผลดีทั้งในห้องปฏิบัติการและท้องถนน
ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่าต้นพืชและสัตว์รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมัน หรือก๊าซ หรือถ่านหิน ฯลฯ พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอน (คือ ธาตุไฮโดรเจนรวมกับธาตุคาร์บอน) เป็นส่วนใหญ่ และไฮโดรคาร์บอนนี้แหละเมื่อนำมาเผาจะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่น้ำมันความร้อนมากกว่าฟืน นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบสอดแทรกอื่นๆ บ้าง เช่น กำมะถัน (เวลาเอามาเผาจะรวมกับออกซิเจน ได้เป็นก๊าซพิษของกำมะถันไดออกไซด์)
โลกเราใช้เวลานานมาก (เป็นล้านปี) กว่าจะผลิตน้ำมันได้แต่ละลิตร แต่เราเอามาเติมรถยนต์ วิ่งไม่กี่นาทีก็หมดแล้ว เราจึงควรใส่ใจและคิดสักนิด เมื่อจะขับรถ เปิดไฟเปิดแอร์ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าจำเป็นก็ลดการใช้ลงบ้าง จะช่วยให้เรามีเชื้อเพลิงใช้ไปได้อีกนานๆ
การกลั่นน้ำมันดิบ
เรารู้แล้วว่าน้ำมันดิบมาจากใต้ดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำๆ จึงสูบขึ้นมาได้ มีสารไฮโดรคาร์บอนอยู่เยอะ จึงเผาแล้วได้พลังงานสูง ถ้ามีสิ่งเจือปนเยอะ เช่น มีกำมะถันเยอะ เผาแล้วจะเกิดก๊าซพิษมาก ก็ถือว่าเป็นน้ำมันดิบเกรดต่ำ น้ำมันดิบที่มีกำมะถันเจือปนน้อยถือว่าเป็นน้ำมันดี จึงมีราคาแพง น้ำมันดิบนี้จะเอามาใช้โดยตรงไม่ได้ ต้องเอาไปกลั่นที่โรงกลั่นน้ำมัน ทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เอาไว้เติม รถยนต์ รถดีเซล เรือ รถไฟ หรือเครื่องบิน น้ำมันเหล่านี้มีสมบัติต่างๆกันไปและราคาก็ไม่เท่ากัน
น้ำมันดิบเมื่อเอามากลั่นจะได้h ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี (liquefied petroleum gas) : ใช้สำหรับหุงต้มในครัว และใช้กับรถบางคัน รวมทั้งในโรงงานบางชนิด h น้ำมันเบนซิน : รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันชนิดนี้ h น้ำมันก๊าด : ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่างและใช้ในโรงงาน h น้ำมันเครื่องบิน : ใช้กับเครื่องบินใบพัด เครื่องบินไอพ่น h น้ำมันดีเซล(โซล่า) : รถเมล์ รถไฟ รถบรรทุก รถกระบะส่วนใหญ่ใช้น้ำมันชนิดนี้ h น้ำมันเตา : ใช้สำหรับเตาเผาหรือต้มน้ำในหม้อไอน้ำ (บอยเลอร์) หรือเอามาปั่นไฟหรือใช้กับเรือ h ยางมะตอย : ส่วนใหญ่ใช้ทำถนน นอกนั้นใช้เคลือบท่อเคลือบโลหะเพื่อกันสนิม
มารู้จักกับ "ค่าออกเทน" ของน้ำมันรถยนต์กัน
คือ ค่าความต้านทานการจุดระเบิดน้ำมันเบนซิน ก่อนเวลากำหนดของเครื่องยนต์หรือ ตัวเลขแสดงความต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ ถ้าค่าออกเทนสูง จะมีความต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์สูง ไม่เกี่ยวกับความแรงของเครื่องยนต์ การออกแบบเครื่องยนต์เบนซิน ของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างกัน จึงต้องใช้น้ำมันเบนซิน ที่มีค่าออกเทนแตกต่างกัน การเลือกใช้น้ำมันเบนซิน ที่มีค่าออกเทน ที่เหมาะสมกับความต้องการ ของเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ผลิตแต่ละรายกำหนดไว้ เป็นค่าออกเทน ที่ทำให้เครื่องยนต์ มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งคุณสามารถดูได้ จากคู่มือประจำรถของคุณ หรือบริเวณฝาปิดถังน้ำมันด้านในรถคุณ ส่วนเรื่องความแรง ของเครื่องยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และการดูแลบำรุงรักษา เครื่องยนต์ของคุณเอง
มารู้จักกับ "แก๊สโซฮอล์ 95" ของน้ำมันรถยนต์กัน
มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ดังนั้นนอกจากจะคุณสมบัติการใช้งานเทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป แต่มีราคาถูกกว่า 1.50 บาทต่อลิตรแล้ว ยังเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยแก๊สโซฮอล์ 95 มีไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าเบนซิน 95 ทั่วไป ช่วยลดควันดำ สารอะโรเมติกส์ สารเบนซีน และช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองจากท่อไอเสีย จึงนับได้ว่า แก๊สโซฮอล์ 95 เป็นเบนซินที่สะอาด ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โครงการแก๊สโซฮอล์ เกิดขึ้นในปี 2528 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทย อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาศึกษา ถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และได้ทดลองใช้กับรถยนต์ในโครงการส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี 2537 โดยทดสอบกับเครื่องยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้ผลดีทั้งในห้องปฏิบัติการและท้องถนน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น