วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์ทางการเมือง
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในด้านต่างๆ ดำเนินไปด้วยความราบรื่นไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ (รายละเอียดการเยือนในข้อ 10) อย่างไรก็ตาม ยังมีการเยือนสำคัญที่ยังคั่งค้างอยู่ คือ การเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State visit) ของประธานาธิบดี Chirac
การค้า
ไทยกับฝรั่งเศสได้ติดต่อค้าขายกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ปริมาณการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วในปลายทศวรรษ 1980 ในปัจจุบันฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 6 ของไทย ส่วนไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของฝรั่งเศสเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ในช่วงปี 2541-2544
การค้ารวม
การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 1,823.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราขยายตัวเฉลี่ยลดลงร้อยละ 2.8 สำหรับในปี 2545 การค้ารวมมีมูลค่า 1,662.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุล 21.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2546 การค้ารวมมีมูลค่า 1,948.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 46.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2547 (มกราคม-มิถุนายน) การค้ารวมมีมูลค่า 998.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 154.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออก
ในช่วงปี 2541-2544 การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 863.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราขยายตัวเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.4 สำหรับในปี 2545 การส่งออกมีมูลค่า 820.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.93 สำหรับปี 2546 (มกราคม-สิงหาคม) การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 648.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.6 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฝรั่งเศส ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
การนำเข้า
ในช่วงปี 2541-2544 การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 960.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราขยายตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 สำหรับในปี 2545 การนำเข้ามีมูลค่า 841.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.04 สำหรับปี 2546 (มกราคม-สิงหาคม) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 647.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.01สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากฝรั่งเศส ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็ก เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
- ปัญหาด้านกฎระเบียบด้านการค้าทั้งของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งบางครั้งไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติ ฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่า ประเทศสมาชิกสหภาพฯ อื่นๆ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกไทยต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยต้องให้ความสำคัญและเข้มงวดกวดขันเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย
- ปัญหาสุขอนามัยเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในสินค้าประมง อาทิ การตรวจพบ cadmium ในปลาหมึกแช่แข็ง หรือการพบเชื้อ salmonella ในปลาแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าจากบริษัทที่มีปัญหาถูกใช้มาตรการเข้มงวด/ตรวจสอบ ทั้งนี้ สินค้าประมง เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ซึ่งทำให้ความสามารถ ในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลงอยู่แล้ว การเกิดปัญหาด้านสุขอนามัยขึ้นอีกจะยิ่งส่งผล ต่อการส่งออกสินค้าของไทย
- ปัญหาคุณภาพสินค้าไทย บางประเภทยังไม่ได้มาตรฐานตลาด ซึ่งต้องมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันต่อไป
- ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดเสรี มีการแข่งขันสูงมีการกีดกันและป้องกันตนเอง อุปสรรคด้านการตลาดดังกล่าว ได้แก่ การหาแหล่งสินค้าที่ต้นทุนต่ำ ผู้นำเข้าของฝรั่งเศสเลือกซื้อสินค้าจากประเทศผู้ผลิตที่ได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรเพื่อให้มีต้นทุนการนำเข้าต่ำ สินค้าของไทยบางประเภทจึง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ รสนิยมด้านการบริโภค ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีรสนิยมเฉพาะตัว ตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้นำเข้ารายใหญ่พบว่า ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสมีรสนิยมที่แตกต่าง จากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ อาทิเช่น กรณีของสับปะรดกระป๋อง ผู้บริโภคนิยมสับปะรดกระป๋องที่มีความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูง (มีความหวานมาก) และคำนึงถึงสีสันของเนื้อสับปะรดด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มยังให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องบนสลากบรรจุภัณฑ์ด้วยอำนาจต่อรองของกลุ่มต่างๆ ประเทศฝรั่งเศสมีสหภาพแรงงาน สมาคมผู้ผลิต และสมาคมการค้าต่างๆ ที่เข้มแข็ง สามารถสร้างแรงกดดันรัฐบาลให้กำหนดมาตรการ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนได้ แรงกดดันจากกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวมีผลต่อสินค้านำเข้า จากต่างประเทศ
- ความเข้มงวดทางด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเหตุที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบรูปแบบสินค้าต่างๆ ฝรั่งเศสจึงให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และทรัพย์สิน ทางปัญญาด้านอุตสาหกรรมต่างๆ โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายสากลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและระเบียบปฏิบัติภายในของฝรั่งเศสอีกส่วนหนึ่งด้วย ในแง่นี้ ฝรั่งเศสจึงมี ปัญหาทางการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทยอยู่มาก โดยเฉพาะ ความผิดเรื่องการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งพบว่า 7 ใน 10 ของเครื่องหมายการค้า ที่พบว่ามีการลอกเลียนแบบนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าลอกเลียนแบบที่ถูกจับกุมและยึดโดยศุลกากรฝรั่งเศส มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยมากที่สุดกล
ไกความร่วมมือด้านการค้า
- ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมทางการค้าฝรั่งเศส-ไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ มีการประชุมครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539ครั้งที่ 2 ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540และครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2542
- ในภาคเอกชน มีการจัดตั้งสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (French-Thai Business Council - FTBC) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยหอการค้าไทยเป็นตัวแทน และ Secretariat ของฝ่ายไทย (ประธานร่วมฝ่ายไทยคือนายชิงชัย หาญเจนลักษณ์) และ MEDEF (Mouvement Entrepreneurs de France หรือ The French Enterprises Association) เป็นตัวแทนของฝ่ายฝรั่งเศส (ประธานร่วมฝ่ายฝรั่งเศสคือนาย Jacques Friedmann) การประชุม FTBC ครั้งที่ 3 จัดขึ้นในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2544 ที่กรุงปารีส ซึ่งมีการพบปะระหว่างภาคเอกชนทั้ง 2 ฝ่าย และมีการลงนาม Joint Statement of the 3rd FTBC Meeing ในวันเดียวกัน
-ในเดือนมีนาคม 2543 หอการค้าและอุตสาหกรรมฝรั่งเศส (La Chambre de Commerce et d Industries de Paris) แจ้งความประสงค์จัดทำความตกลงร่วมระหว่าง หอการค้าและอุตสาหกรรมฝรั่งเศสกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ทางการค้าและการลงทุนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยจะมีการลงนามความตกลงฯ กันต่อไป นอกจากนี้ ไทย-ฝรั่งเศส ยังมีความร่วมมือในกรอบ ASEM อาทิ สภาธุรกิจเอเชีย- ยุโรป (Asia - Europe Business Forum) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนชั้นนำ ของประเทศสมาชิก ASEM
ความสัมพันธ์ด้านการลงทุนไทย-ฝรั่งเศส
1. การลงทุนของฝรั่งเศสในประเทศไทย
ไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่ฝรั่งเศสให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุนเนื่องจากมองเห็นศักยภาพของตลาดภายในประเทศและมีลู่ทางการส่งออกหรือจะขยายกิจการไปยังประเทศอาเซียนและกลุ่มอินโดจีน โดยอาศัยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุนของฝรั่งเศสในไทยมี 2 รูปแบบ คือ ลงทุนเพื่อทำธุรกิจในประเทศไทย อาทิ กลุ่มบริษัท Carrefour, Casino, Thomson, Totalfina และการลงทุนเพื่อการส่งออก เช่น Michelin, Lacoste, Saint Gobain, Devanley นอกจากนี้ ฝรั่งเศสได้แสดง ความสนใจในการ ร่วมลงทุนการก่อสร้าง ท่าอากาศยาน รถไฟฟ้าและด้านพลังงาน ปัจจุบันมีวิสาหกิจฝรั่งเศสเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยประมาณ 350 บริษัท กิจการที่ฝรั่งเศสมาลงทุนส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทสาขา หรือการร่วมทุนกับฝ่ายไทย เช่น Michelin (กับ Siam Group) หรือ Thomson Television Thailand สำหรับกิจการ ด้าน hypermarket นั้น เป็นโอกาสอันดีที่ทำให้สินค้าไทยได้แพร่ไปยังตลาดยุโรปและเอเชีย ตามที่บริษัทฝรั่งเศสมีสาขาในประเทศเหล่านั้นด้วย ในปี ค.ศ. 1998 มีโครงการการลงทุนของฝรั่งเศสได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 16 โครงการ มูลค่า 3,672 ล้านบาท โดยฝรั่งเศสเป็นประเทศยุโรปที่เข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นลำดับที่ 4 รองจากเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี สำหรับปี ค.ศ. 1999 มีโครงการการลงทุนของฝรั่งเศสได้รับอนุมัติจำนวน 11 โครงการ มูลค่า 2,829 ล้านบาท ทำให้การลงทุน ของฝรั่งเศสคิดเป็นร้อยละ 10.8 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดของไทย ส่วนในปี ค.ศ. 2000 (มกราคม-กุมภาพันธ์) มีโครงการการลงทุนของฝรั่งเศสได้รับอนุมัติ จำนวน 2 โครงการ มูลค่า 471 ล้านบาท ในช่วงปี ค.ศ. 1998-1999 มีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทสำคัญของฝรั่งเศสเดินทางมา ศึกษาลู่ทางการลงทุนหรือขยายกิจการในประเทศไทยหลายบริษัท ตั้งแต่บริษัทใหญ่ในวงการอุตสาหกรรม อาทิ Lyonnaise Des Eaux, , Saint Gobain Group (มีโรงงานผลิตกระจกหน้าต่าง กระจกรถยนต์ที่ระยอง) Michelin ซึ่งเป็น Partner ของ Siam Cement และเห็นว่าไทยควรเป็น ศูนย์กลางการส่งออกยางรถยนต์ในตลาดเอเชีย โดยปัจจุบันมีโรงงานในไทยแล้ว 5 แห่ง และจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่สระบุรี Vivendi ซึ่งมีกิจการด้านโครงการน้ำ และสิ่งแวดล้อม สนใจ ประมูลโครงการการกำจัดขยะของกทม. และการบำบัดน้ำเสียในต่างจังหวัด Chemise La Coste เห็นว่าไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตของบริษัทและมีโครงการเปิดโรงงานเพิ่มในไทย Renault car group สนใจที่จะเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยและสนใจในโครงการ AICO และ AFTA ส่วน Schneider Group เห็นว่าไทยจะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญสำหรับสินค้าอุปกรณ์เครื่องใช้ ไฟฟ้าและสินค้า hi-tech และมีโครงการขยายโรงงานที่บางปู และ Electricite de France ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของฝรั่งเศสในกิจการพลังงานไฟฟ้า สนใจซื้อกิจการโรงงานไฟฟ้าราชบุรี และได้เปลี่ยน representative office ของบริษัทจากสิงคโปร์มาตั้งที่กรุงเทพฯ ไปจนถึงบริษัทค้าปลีก เช่น Carrefour Hypermarkets และ Casino Hypermarkets Group ตลอดจนภาคบริการ เช่น Bureaux Veritas ส่วนในด้านการคมนาคม และการสื่อสาร บริษัท RATP สนใจโครงการรถไฟใต้ดินกรุงเทพมหานคร บริษัท Aerospatiale Matra (สร้างดาวเทียมไทยคม 3) มีข้อเสนอในโครงการสื่อสารดาวเทียม เป็นต้น
2. แนวโน้มการลงทุนของฝรั่งเศสในไทย
แนวโน้มและขนาดการลงทุนจะเป็นโครงการขนาดเล็กและขนาดกลางมากขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนฝรั่งเศสส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและมองแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยไปในทาง ที่ดีสำหรับสาขาการลงทุนที่ฝรั่งเศสมีศักยภาพ ได้แก่(1) สาขาอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป (Agro Processing Industry) โดยเฉพาะอาหารมุสลิม โดยไทยเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบด้านการเกษตรจำนวนมากและราคาถูก อัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ และฝรั่งเศสสามารถนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรแปรรูปมาใช้ได้(2) สาขาอิเล็กทรอนิกส์และวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยไทยมีวิศวกรที่มีคุณภาพและ อัตราค่าจ้างถูกไทยและฝรั่งเศสมีความร่วมมือใกล้ชิดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริม ให้มีการลงทุนในไทยมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มความร่วมมือในด้านวิทยากรและเทคโนโลยีต่าง ๆ และมักมีกิจกรรมสำคัญ อาทิ- ระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคม ค.ศ. 1999 สอท. ฝรั่งเศสประจำประเทศไทยและ หน่วยงานต่างๆ ของฝรั่งเศสร่วมกับ ACTIM Thailand Club ได้จัดให้มีการประชุม French-Thai Technology Forum and Industrial Meeting ที่โรงแรม Regent กรุงเทพฯ โดยเน้นในด้านอุตสาหกรรมเกษตร และ urban services เช่น การขนส่งมวลชน การบำบัดน้ำเสีย การจัดระบบ ไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟสัญญาณ และ renewable energy - สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ของสอท. ณ กรุงปารีสร่วมกับหอการค้าและอุตสาหกรรมกรุงปารีส (La Chambre Commerce et d Industrie de Paris - CCIP) ได้จัดการสัมมนาประจำปีในหัวข้อ Thailande: La Nouvelle Donne เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2000 ที่กรุงปารีส ซึ่งนักธุรกิจคนสำคัญของฝรั่งเศสหลายคนที่ดำเนินกิจการอยู่ในไทย ได้ให้ความร่วมมือไปร่วมงานดังกล่าว และได้รับความสนใจจากนักธุรกิจฝรั่งเศสด้วยดี- ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 ได้มีโครงการจัดสัมมนาเพื่อส่งเสริมการลงทุนของอาเซียนขึ้นที่กรุงปารีส (Joint ASEAN Investment Promotion Seminar in Europe) สำหรับโครงการนี้ ไทยได้รับเลือกให้เป็นผู้ประสานงานในฝรั่งเศส - France-Thailand Association ในกรุงปารีส ได้รับความร่วมมือจาก Centre Francais pour le Commerce Exterieur (CFCE) และสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (FTBC) ในการจัดสัมมนาที่วุฒิสภาฝรั่งเศส ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนหน่วยราชการ นักวิชาการ และผู้บริหารบริษัทฝรั่งเศส ได้รับทราบเกี่ยวกับ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของไทย รวมทั้งโครงสร้างของสถาบันและการบริหารของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักและสามารถเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้มากขึ้น
3. ปัญหา/อุปสรรคสำหรับการลงทุนของฝรั่งเศสในไทย
ความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ความโปร่งใส เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะนอกภูมิภาคยุโรปไม่มากนัก ขั้นตอนการตัดสินใจของบริษัทจะเป็นไปด้วยความล่าช้า และปัญหาด้านภาษาที่นักธุรกิจฝรั่งเศสไม่สันทัดภาษาอังกฤษ อาจทำให้บริษัทฝรั่งเศสเลือกที่จะ เข้าไปลงทุนในประเทศที่สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ดี เช่น กลุ่มประเทศอินโดจีน นอกจากนั้น ไทยมีปัญหาความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับการลงทุนจากฝรั่งเศสโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น