สมัยหนึ่งการเคี้ยวหมากของคนไทยรุ่นย่ารุ่นยายกลายเป็นเรื่องน่ารังเกียจไป เพราะถือว่าการที่จะพัฒนา ประเทศ ให้ทันสมัย เทียบกับชนชาติตะวันตกได้นั้น ประชาชนคนไทยต้องกระทำตนให้ทันสมัยตามไปด้วย และสิ่งหนึ่ง ก็คือ ต้องไม่กินหมากแต่อารยชนชาติตะวันตกก็เคี้ยวหมากเหมือนกันเพียงแต่เป็นหมากคนละชนิดกัน ฝรั่งถือว่า การเคี้ยว หมาก ( ฝรั่ง ) เป็นการ ออกกำลังกล้ามเนื้อบนใบหน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการผ่อนคลายร่างกาย เพราะบ้านเมืองเขาเป็น เมืองหนาว ร่างกาย ส่วนอื่นๆยังหาอะไรให้ความอบอุ่นได้ แต่บริเวณใบหน้านี่ต้องทนเอาหมากฝรั่งเป็นที่นิยมในหมู่ทหาร อเมริกันมาก พวกเขาบริโภคหมากฝรั่งเป็น 5 เท่าของอัตราเฉแยของคนอื่น นอกจากนี้การเคี้ยวหมากฝรั่งก็ยังมีที่มาจาก ทหารด้วย
ทหารผู้นั้นมียศทหารเป็นนายพลชื่อ อันโตนิโอ โลเปช เอก ซานตาอันนาแห่งกองทัพเม็กซิโก เมื่อเข้ามาอยู่ในอเมริกา เขานำนำยางของต้นไม้จากป่าในเม็กซิโกมาด้วย ยางชนิดนี้รู้จักกันในหมู่พวก อาซเท็กว่า ชิคลิ ( chicli ) นายพลซานตา อันนา ชอบเคี้ยวยางไม้รสนี้มาก ต่อมาโทมัธ อดัมส์ นักถ่ายภาพและนักประดิษฐ์ก็ได้รู้จักยางไม้นี้จากนายพล ซานตา และได้สั่งเข้ามา เป็นจำนวนมากโทมัสพยายามเปลี่ยนยางไม้ให้เป็นยางเทียมแต่ก็ล้มเหลวเสียหลายครั้ง เมื่อหวนคิดว่า หลานของเขาและ นายพลซานตาชอบเคี้ยวยางไม้จึงเกิดความคิดที่จะเปิดตลาดด้านนี้แทน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ หมากฝรั่ง ยุคแรกๆของโทมัส อดัมส์ ทำเป็นเม็ดกลมเล็กๆยังไม่มีรสชาติ วางขายในร้านขายยาแห่งหนึ่งในเมืองโฮโบเค็น รัฐนิวเจอร์ซี่เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ.1871 โดยขายราคาเม็ดละ 1 เพนนี ต่อมาจึงมีการดัดแปลงทำเป็นรูปแผ่นสี่เหลี่ยม แบนๆ บุคคลแรกที่เติม รสชาติให้หมากฝรั่งคือเภสัชกรจากหลุยส์วิลรัฐเคนตั๊กกี้ ชื่อ จอห์น คอลแกน ในราวปี ค.ศ. 1875 เขาไม่ได้เติมรสแบบ ลูกอมรสเชอร์รี่ รสเปปเปอร์มิ้นต์ หรืออื่นๆอย่างในสมัยนี้ รสชาติที่เขาเติมในหมากฝรั่งคือตัวยา ทางการแพทย์ เป็นขี้ผึ้งหอมทูโล ทำจากยางไม้ต้นทูโลในอเมริกาใต้ รสชาติคล้ายกับยาแก้ไอน้ำเชื่อมของเด็กในยุคเมื่อร้อย กว่าปีก่อน คอลแกนเรียกหมากฝรั่งของเขาว่า แทฟฟี่-ทูโล เป็นหมากฝรั่งที่ประสบความสำเร็จกว่าหมากฝรั่งอื่น ๆ ที่เติมรสชาติ แล้วสมัยนั้น ต่อมาโทมัส อดัมส์ ใช้รสชะเอมเติมในหมากฝรั่ง เรียกชื่อสินค้าของเขาว่า แบลคแจค ซึ่งเป็นหมากฝรั่งเติมรสที่ เก่าแก่ที่สุด ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด(ของอเมริกา) ส่วนรสเปปเปอร์มิ้นต์ซึ่งเป็นรสยอดนิยมมีในปี ค.ศ. 1880 หมากฝรั่ง ที่มีวางขาย อยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่ยางไม้ที่ทำเลียนแบบทอฟฟี่อย่างหมากฝรั่งของนายพลซานตา แต่เป็นยางสังเคราะห์นุ่ม ๆ ซึ่งโดยตัวมันเอง ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ชื่อก็ไม่ชวนกิน แต่คนอเมริกันก็เคี้ยวเจ้ายางสังเคราะห์นี้ถึงปีละ 10 ล้านปอนด์ สำหรับหมากฝรั่งที่ใช้เป่า เป็นลูกโป่งได้ ผู้คิดค้นคือ สองพี่น้อง แฟรงค์ และ เฮนรี ฟลีเออร์ แต่คุณภาพของหมากฝรั่งที่ แฟรงค์ผลิตให้เป่าได้ใน ตอนนั้นยังไม่มีปัญหา คือไม่ยืดหยุ่นพอลูกโป่งยังไม่ทันโตก็แตก และเมื่อแตกแล้วก็จะติดแก้ม ติดจมูก จนปีค.ศ. 1928 แฟรงค์ก็สามารถผลิต หมากฝรั่งที่เป่าเป็นลูกโป่งได้ขนาดโตเป็น 2 เท่าของที่ทำได้ในช่วงแรกๆ
หมากฝรั่งไม่ได้แพร่หลายเฉพาะแต่ในอเมริกาเท่านั้น ในหมู่ชาวเอสกิโมก็เคี้ยวหมากฝรั่งแทน 'หมาก' จากไขปลาวาฬ ซึ่งใช้เคี้ยวมานานหลายทศวรรษ โดยจี.ไอ. สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้นำไปเผยแพ่ร... ผลงานของทหารอีกนั่นแหละ
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น