การหัวเราะเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อมีการยิ้มหรือหัวเราะ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน "ความสุข" ชื่อ "เอ็ดโดฟีน" ซึ่งช่วยให้สามารถต่อสู้กับความกลัว ความเครียด ระบบย่อยอาหารดีขึ้นกระตุ้มการเจริญอาหารและระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการผ่อนคลาย การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นร่างกายได้ดีขึ้น สามารถต่อต้านและช่วยบรรเทาอาการกังวล และเจ็บปวดต่อโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ และช่วยในการปรับปรุงสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย การเก็บกวาดสิ่งที่ไม่ต้องการในร่างกาย เช่น คอเลสเตอรอล ไขมันส่วนเกินและขยะต่าง ๆ จากจิตใจด้วยการหัวเราะให้ความตึงเครียดผ่อนคลายลง ให้ผลดีกว่าการออกกำลังกายทุกชนิด เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด ถ้าหัวเราะ 1 นาที เท่ากับได้พักผ่อนนานถึง 45 นาที การหัวเราะ ถือเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง คนที่หัวเราะมาก ๆ จะมีชีวิตยืนยาวนักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการหัวเราะนี้มากถึงขนาดเปิดเว็บไซต์เสาะหาซุปเป้อร์โจ๊ก เราเกิดมาแล้วก็รู้จักกับการหัวเราะกันตั้งแต่ก่อนจะพูดได้เสียอีก ผู้ใหญ่จะหัวเราะสักวันละ 20 ครั้งได้ ส่วนเด็กๆจะหัวเราะได้ถึงวันละ 200 ครั้ง นักปรัชญาที่สำคัญๆในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ เพลโต้ อริสโตเติ้ล ค้านท์ และ ฮูเม่ ต่างก็เขียนถึง การหัวเราะ กันมาแล้วทั้งนั้น แต่จนกระทั่งทุกวันนี้ เรายังแทบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการหัวเราะ มีปัญหาต่างๆมากมายที่ยังไม่มีใครตอบได้ เช่น ผลทางกายภาพและจิตภาพโดยละเอียดจากการหัวเราะว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมมนุษย์เราจึงมีวิวัฒนาการให้หัวเราะกันมา เรื่องตลกมันไปทำอะไรจนสะกิดให้เกิดการหัวเราะให้เกิดขึ้นมา ผลของเรื่องตลกต่อคนเล่าและคนฟังต่างกันอย่างไร ฯลฯ แต่ว่ากันไปตามจริงแล้ว ก็พอจะมีสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่องโจ๊กๆอยู่บ้าง เพียงแต่ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ ยังตกลงกันไม่ได้เสียเอง ทฤษฎีทางตลกศาสตร์ถึงยังไม่ได้เกิดเสียที คนเราไม่ได้หัวเราะเมื่อได้ยินเรื่องขำๆแต่เพียงอย่างเดียว เรายังมีการหัวเราะแก้เขิน แก้ประหม่า หรือตกใจ แม้แต่หัวเราะเพราะไม่รู้จะทำอะไร คิดอะไรไม่ออกก็หัวเราะเอาลูกเดียว บ้างก็หัวเราะตามๆเค้าไปเหมือนได้รับโรคติดต่อก็มี จากผลการศึกษาของ รอเบิร์ต โพรไวน์ นักชีวประสาทวิทยา(neurobiologist) แห่ง มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ในบัลติมอร์ สหรัฐ จากการสังเกตการณ์ข้อมูลกว่า ๑๒๐๐ สถานการณ์ พบว่า กว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ของการหัวเราะที่สังเกตการณ์มาวิจัยนั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องขำๆเลย กลับเป็นการหัวเราะคั่นประโยคเช่นที่ว่า "แน่ใจเหรอ" "ขอนั่งร่วมโต๊ะทานข้าวด้วยได้ไหมครับ" เป็นต้น แถมคนที่หัวเราะก็ไม่ใช่คนฟังแต่ฝ่ายเดียว ประมาณ ๔๖ เปอร์เซ็นต์ในการสังสันท์ทางสังคม คนที่หัวเราะกลับเป็นคนพูดเสียเอง หาใช่คนฟังไม่ และการหัวเราะก็หาได้สงวนไว้ให้แต่มนุษย์เท่านั้น สัตว์ประเภทลิงที่มีวิวัฒนาการสูงๆ เช่น ชิมแพนซี ก็หัวเราะได้ด้วยเหมือนกัน แม้จะฟังเหมือนคนกำลังหืดขึ้นคอเสียมากกว่า และในการทดลองกับหนูด้วยการจั๊กกะจี้ ก็ดูเหมือนหนูมันจะหัวเราะด้วยเหมือนกัน (เออนะ ใครขอทุนวิจัยไปจั๊กกะจี้หนูได้นี่ ยอดมนุษย์แท้ๆ ไม่ทราบเหมือนกันว่า เวลาหนูมันหัวเราะจะมีเสียงอย่างไร) นักวิทยาศาสตร์ต้องยอมรับว่า การหัวเราะ ไม่ใช่พฤติกรรมที่ได้มาจากการเรียนรู้ แม้ว่าสาเหตุของการหัวเราะจะต่างกันไปบ้างตามสังคมที่ต่างกัน แต่การหัวเราะ ก็เป็นพฤติกรรมที่เกิดกับทุกวัย ตั้งแต่ทารกวัยสามสี่เดือน แม้แต่เด็กหูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ ก็ยังหัวเราะกันได้ เราเองก็คงจะผ่านความรู้สึกว่า การหัวเราะนั้นควบคุมไม่ได้ หรือเกิดเหมือนเป็นโรคติดต่อ หลักฐานต่างๆเหล่านี้ บ่งไปในทางที่ว่า การหัวเราะเป็นพฤติกรรมที่มีมาอยู่แล้วในตัวเรา ทั้งด้านกายภาพและจิตภาพ คล้ายๆกับมีโปรแกรมเขียนติดมาแต่เกิดอย่างนั้น แล้วเรื่องการหัวเราะมันคืออะไร เกิดมาเพื่ออะไร ได้อย่างไร ก็มีคำอธิบายหลากหลายที่หาข้อยุติไม่ได้ บ้างก็ว่า เป็นเหมือนเสียงเรียกร้องออกศึก "การหัวเราะและอารมณ์ขัน เกี่ยวพันกับพฤติกรรมก้าวร้าวเอาชนะกันด้วย ดูได้จากเวลานักบอลเล่นชนะ ก็จะกระโดดโลดเต้น หัวเราะเริงร่าเหมือนเกิดอาการบ้าฉับพลัน อารมณ์ที่ผู้ชายสามารถแสดงออกได้ในที่สาธารณะมีสองอย่างเท่านั้น คือ ความสุข และ ความโกรธ" ชาร์ลส์ กรันเร่อร์ แห่งมหาวิทยาลัยจอร์เจียเสนอข้อสมมติฐานนี้ขึ้นมา สมมติฐานในแนวนี้ก็อธิบายว่า การหัวเราะเป็นเหมือนการเชื่อมความสามัคคี เหมือนคำพังเพยฝรั่งกล่าวว่า "เราไม่ได้หัวเราะเยาะท่าน แต่เราหัวเราะไปด้วยกันกับท่าน" เป็นการบ่งว่า การหัวเราะเป็นการคลายความตึงเครียดของสถานการณ์ยามหน้าสิ่วหน้าขวาน เป็นการสร้างความรู้สึกร่วมของคนที่หัวเราะไปด้วยกัน แล้วเป็นการผ่อนคลายทางอารมณ์ แต่ใครที่ไม่ตลกไปด้วยก็จะถูกกันออกไป กลายเป็นคนนอกไม่ได้ร่วมเป็นพวกไปด้วย ผลการศึกษาของ โพรไวน์ แสดงด้วยว่า เราหัวเราะอยู่คนเดียวน้อยมาก มากกว่าสามสิบเท่าของการหัวเราะ เป็นการได้หัวเราะไปกับคนอื่น และในสถานการณ์ทางสังคม การหัวเราะ หรือทำให้คนอื่นหัวเราะได้ ก็จะเกิดผลในทางบวกตามมา เด็กทารกก็เรียนมาจากปฏิกิริยาของแม่ที่สนองตอบต่อเสียงหัวเราะของลูก เมื่อโตขึ้นก็ได้รับการตอกย้ำไปเรื่อยว่า การสร้างเสียงหัวเราะเป็นสิ่งที่สร้างผลดี เช่น มีเพื่อนเลี้ยงข้าว หรือแม้แต่หาแฟนก็ยังได้ง่ายขึ้น กระนั้นก็ดี ก็ยังไม่มีการตัดสินลงไปให้แน่ๆกันเสียที ในเรื่องทั้งหลายเกี่ยวกับการหัวเราะ รวมทั้งสาเหตุและผลของมันด้วย เมื่อต้นปีนี้ ทีมวิจัยด้านสมองได้ค้นพบโดยบังเอิญPว่า เมื่อกระตุ้นพื้นที่เล็กๆประมาณ 2 ตารางเซ็นติเมตร ในสมองของเด็กหญิงวัย ๑๖ ที่เป็นโรคลมบ้าหมู ด้วยกระแสไฟฟ้า ก็สามารถทำให้เธอหัวเราะขึ้นมาได้ ถ้าใช้กระแสไฟอ่อนๆ ก็หัวเราะเบาๆ ถ้าใช้กระแสไฟแรงขึ้น ก็หัวเราะลั่นสนั่นห้องไปเลย แต่การทดลองทางกายภาพนี้ ก็เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้ากันอีกมาก นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งในอังกฤษ คือ British Association for the Advancement of Science จึงได้มีโครงการที่จะศึกษาว่า อะไรเป็นเรื่องน่าขำที่สุด ด้วยความร่วมมือจากคนทั่วโลกทางอินเตอร์เน็ต โดยขอให้คนคนที่เข้าไปที่เว็บนี้ http://www.laughlab.co.uk/home.html ช่วยกันให้คะแนนความขำของเรื่องตลก(ภาษาอังกฤษ)ครั้งละ ๕ โจ๊ก หรือจะส่งเรื่องตลกไปร่วมด้วยก็ได้ หลังจากนั้นอีก ๖ เดือน ก็จะเอาเรื่องตลกพวกนี้ไปอัดเสียงด้วยนักเล่าเรื่องตลกอาชีพ แล้วให้คนฟังที่เขาจะวัดคลื่นสมองไปด้วย เพื่อดูปฏิกิริยาของการหัวเราะ
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น