แล้วทำไมใบไม้เปลี่ยนสี เนื่องจากในเซลล์พืชนอกจากสารสีคลอโรฟิลล์ที่ทำให้พืชมีสีเขียวแล้ว ยังมีสารสีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทไขมัน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ในพืชชั้นสูงสารสีแคโรทีนอยด์อยู่ในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วย สารสี 2 ชนิด 1.แคโรทีน (carotene) เป็นสารสีแดงหรือสีส้ม หากมีสารสีคลอโรฟิลล์และสารสีแคโรทีนอยู่ในใบเดียวกัน จะสะท้อนแสงสีแดง เขียวแกมน้ำเงิน และแสงสีน้ำเงิน ทำให้ใบมีสีเขียว 2.แซนโทรฟิลล์ (xantrophyll) เป็นสารสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ในเซลล์พืชโดยปกติมีสารสีทั้ง 3 ชนิด แต่ถ้ามีสารสีชนิดใดมากกว่า พืชชนิดนั้นก็จะปรากฏให้เห็นสีของสารสีชนิดนั้นๆ เช่น ใบมะม่วงสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์อยู่มาก พืชต้องการแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตคลอโรฟิลล์เพื่อใช้ในการสร้างอาหาร โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งปกติพืชจะสร้างคลอโรฟิลล์อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ใบไม้มีสีเขียว แต่ใบไม้เหล่านี้จะเปลี่ยนสีได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของช่วงความยาวของวัน กล่าวคือ ในช่วงฤดูหนาวจะมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าในช่วงฤดูร้อน และมีช่วงเวลากลางคืนที่นานกว่าฤดูร้อน และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อปริมาณแสงที่พืชได้รับ
คือ ในช่วงฤดูหนาว พืชได้รับแสงในปริมาณน้อยลงและอุณหภูมิก็มีค่าต่ำลง พืชจึงตอบสนองโดยการสร้างคลอโรฟิลล์ในปริมาณที่น้อยลง และขณะเดียวกันคลอโรฟิลล์ที่มีอยู่เดิมจะสลายตัวอยู่ตัวตลอดเวลา ใบไม้ที่มีสีเขียวจึงเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง หรือส้ม แดง จนที่สุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงลงสู่พื้นดินถ้าพืชไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียวสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้หรือไม่? คลอโรฟิลล์ไม่เพียงทำให้พืชมีสีเขียวเท่านั้น โดยคลอโรฟิลล์ เอ ให้สีเขียวเข้ม คลอโรฟิลล์ บี ให้สีเขียวอ่อน คลอโรฟิลล์ ซี ให้สีส้ม คลอโรฟิลล์ ดี ให้สีน้ำตาล ดังนั้น พืชที่ไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียวก็ไม่ได้หมายถึงไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่อย่างไรก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น