ท่านเจ้าคุณ พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ) พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย เจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี เนปาล ท่านบอกว่า..."คนเราสมัยนี้มีความรู้กันมาก แต่รู้อะไรไม่เท่ารู้เนื้อ รู้ตัวความรู้เนื้อ รู้ตัวนี้ ก็คือ มีสติ นั่นเอง แล้วถ้ามีสติ ก็จะมีสตางค์เพราะคนมีสติจะตั้งอกตั้งใจทำงานหาสตางค์ พอมีสตางค์แล้ว ก็ตั้งสติในการใช้จ่าย ไม่หลงใช้ฟุ่มเฟือยเกินตัว หรือใช้ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์"
วิธี "ตั้งสติ ใช้สตางค์" ให้ดูจาก ศีล ๕ ที่ชาวพุทธจำได้ขึ้นใจอยู่แล้ว แต่นำมาปรับมุมมองใหม่ ดังนี้...
๑. ปาณาติบาตฯ : (งดเว้น)การฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตมองว่าคือ ใช้สตางค์เพื่อชีวิต ใช้เพื่อความอยู่รอด ซื้อหาปัจจัย ๔
๒. อทินนาทานฯ : (ไม่) ลักขโมย เอาทรัพย์ของผู้อื่นมองว่าคือ ใช้สตางค์เพื่อหารายได้ หาสตางค์เพิ่มขึ้น ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า การลงทุนหรือที่ชอบพูดกันว่า "ให้เงินทำงาน"
๓. กาเมสุมิจฉาฯ : ไม่ประพฤติผิดในกามมองว่าคือ ใช้สตางค์เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว พ่อ แม่ พี่น้อง ฯลฯ
๔. มุสาฯ : (ไม่) พูดเท็จ หลอกลวงมองว่าคือ ใช้สตางค์เพื่อตอบแทนให้สังคมบ้างตามสมควร
๕. สุรา เมรยฯ : (งด) สุรา เครื่องดองของเมามองว่าคือ ใช้สตางค์เพื่อดูแลสุขภาพ อย่าใช้ไปในทางที่ทำให้เกิดความเสื่อม
ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี บอกว่า แนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับหลักทางพระพุทธศาสนาคำว่า "พอเพียง" ไม่ใช่ มีน้อย หรือ ไม่กระตือรือร้น ไม่หาเพิ่มแต่หมายถึง มีให้พอใช้ตามสถานะของตนเพราะฉะนั้น "พอเพียง" จึงมากกว่า "กระตือรือร้น" เสียอีก เพราะต้องมีให้พอเมื่อมีเงินพอแล้ว ก็ใช้เงินให้มีความสุขอย่าให้เงินใช้เรา เพราะจะทำให้มีความทุกข์ มีเงินเท่าไร
ขอบคุณบทความจาก ธรรมจักร
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น