พ่อแม่ที่มีลูกเก่งเลขอาจลังเลที่จะให้ลูกเรียนคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง เพราะไม่รู้ว่าจบแล้วจะทำงานอะไร ขณะที่ "นักคณิตศาสตร์ประกันภัย" กำลังเป็นที่ต้องการและขาดแคลนอย่างมาก สำหรับบริษัทเงินทุนและประกันภัย การันตีรายได้ 6 หลัก ซึ่งมีคนไทยเพียง 6 คนเท่านั้นที่มีคุณวุฒินี้
ธุรกิจประกันโตก้าวกระโดดสวนทางวิกฤตเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมประกันชีวิตเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ เพราะผ่านผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาได้ถึง 2 ครั้งอย่างดีมาก โดยหลังวิกฤตปี 2540 บริษัทการเงินต่างๆ ล้มไปจำนวนมาก แต่บริษัทประกันชีวิตยังมีการเติบโตทุกปีเป็นตัวเลข 2 หลัก และในปี 2552 ขณะที่บริษัทอื่นเติบโตติดลบ แต่บริษัทประกันเติบโตถึง 15% ซึ่งคาดว่าจะเป็นเลขเดียวกันนี้ถึงสิ้นปี
ข้อมูลจากพันธ์พร ทัพพะรังสี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ที่กล่าวไว้ในวงเสวนา "วิทยาศาสตร์ทำเงิน" (ประกันไม่ตกงาน)” เมื่อต้นเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา
“ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ฯ เติบโตแบบก้าวกระโดดมาตลอดในรอบ 10 ปี ซึ่งไม่น่าจะต่ำกว่า 25% เบี้ยประกันภัยปีแรกอยู่ที่ 300 ล้านบาทต่อปี ตอนนี้เบี้ยประกันอยู่ที่ 700 ล้านบาทต่อดือน เหตุผลนั้นแม้อุตสาหกรรมจะไม่ได้รับความสนใจนัก แต่จริงๆ แล้วมีประโยชน์มากถ้ารู้จักใช้ ช่วงปี 2540-2541 อัตราการถือครองกรมธรรม์อยู่ที่ 12-13% สิ้นปี 2551 ขึ้นมาถึง 20% เมื่อเปรียบเทียบประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นอัตราการถือครองกรมธรรม์อยู่ที่ 130% ดังนั้นเรายังมีความสามารถที่จะเติบโตไปอีกมาก" พันธ์พรกล่าว
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสของไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ฯ ยังบอกด้วยว่า อุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระดับโลก และในระดับประเทศขาดแคลนนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งเป็นที่ต้องการของทุกบริษัท พร้อมทั้งรับรองว่าผู้ที่เรียนทางด้านนี้ไม่ต้องหางาน เพราะจะมีคนเข้าไปหาเอง โดยอัตราเงินเดือนจะเพิ่มค่าจ้างในส่วนที่เป็นสาขาขาดแคลนด้วย
ทางด้านพิเชษฐ เจียรมณีทวีสิน นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย บริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชันแนลแอสชัวรันส์ จำกัด หรือเอไอเอ เพิ่งเข้ามาประจำสาขาประเทศไทยได้ไม่กี่วัน หลังจากประจำอยู่ที่ฮ่องกง 6 ปี โดยเขาได้บอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือแอคชัวรี (Actuaries) คือนักวิเคราะห์ความเสี่ยง ที่มีทักษะทั้งด้านคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การเงิน และมีความเชี่ยวชาญในการประเมินผลกระทบทางการเงินจากความไม่แน่นอนในปัจจุบันและเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น