ทั้งราคาเริ่มต้นประมูล และการถือครองสิทธิ์คลื่น บีบเอกชนคืนคลื่น 2จี ก่อน
วันนี้ (7 ก.ค.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และประธานคณะกรรมการ 3จี กล่าวถึง ผลการนำความคิดเห็นที่ได้จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาต 3จี หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ไอเอ็มที เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า มี 2 ประเด็นสำคัญที่ปรับปรุง คือ ราคาเริ่มต้นในการประมูลใบอนุญาต ซึ่ง กทช.ปรับเปลี่ยนจากราคาเริ่มต้น 1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 80% ของมูลค่าคลื่น เป็นราคาเริ่มต้นที่ 100% ของมูลค่าคลื่น หรือ 12,800 ล้านบาท
วันนี้ (7 ก.ค.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และประธานคณะกรรมการ 3จี กล่าวถึง ผลการนำความคิดเห็นที่ได้จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาต 3จี หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ไอเอ็มที เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า มี 2 ประเด็นสำคัญที่ปรับปรุง คือ ราคาเริ่มต้นในการประมูลใบอนุญาต ซึ่ง กทช.ปรับเปลี่ยนจากราคาเริ่มต้น 1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 80% ของมูลค่าคลื่น เป็นราคาเริ่มต้นที่ 100% ของมูลค่าคลื่น หรือ 12,800 ล้านบาท
รวมทั้งเพิ่มประเด็นการถือครองคลื่นความถี่ โดย กทช.ได้กำหนดเงื่อนไขการจำกัดการถือครองคลื่นความถี่ (spectrum cap) ซึ่งผู้ที่ได้รับใบอนุญาต 3จี ถ้าจะเปิดให้บริการที่ภูเก็ต ต้องคืนคลื่น 2จี ที่ภูเก็ตให้เจ้าของสัมปทานก่อนเปิดบริการ 3จี ซึ่งการส่งคืนคลื่นความถี่ต้องส่งคืนให้กับเจ้าของสัญญาสัมปทาน โดย กทช.จะไม่ไปยุ่งเกี่ยว
พ.อ.ดร.นที กล่าวว่า การกำหนดเงื่อนไขการจำกัดการถือครองคลื่นความถี่ เป็นการเขียนเพิ่มเติมขึ้นจากการกำหนดให้ผู้ประกอบการ 2จี ต้องจัดทำแผนการส่งคืนคลื่นความถี่ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนการสร้างโครงข่าย (Roll out plan) โดยผู้ได้รับใบอนุญาตจะทยอยส่งคืนคลื่นตามพื้นที่ที่เปิดให้บริการ 3จี ซึ่งผู้ประกอบการ 2จี ต้องยุติการให้บริการเมื่อหมดสัญญาสัมปทาน
“กทช.พยายามกำหนดให้ไปสู่ความเปลี่ยนผ่านให้เกิดความเป็นธรรม ไม่ให้ใครถือครองคลื่นความถี่มากเกินไป จนทำให้ไม่เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยให้มีคลื่นความถี่ที่เท่าเทียมกัน ซึ่งทุกคนที่ได้รับใบอนุญาต 3จี ต้องมีคลื่นความถี่ที่ถือครองเท่า ๆ กัน และแต่ละผู้ประกอบการจะถือครองคลื่นความถี่ตามความจำเป็นที่ต้องใช้งาน ซึ่งตามความต้องการของ กทช. คือ การถือครองคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ควรถือครองไม่เกิน 15 เมกะเฮิร์ตซ” พ.อ.ดร.นที กล่าว
ปัจจุบัน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ยังเหลืออายุสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) อีก 5 ปี ส่วน บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (มหาชน) เหลืออายุสัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) อีก 3 ปี ขณะที่ บริษัท โทเทิ่ล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เหลืออายุสัญญาสัมปทานกับ กสท. อีก 8 ปี
สำหรับ กสท.ครองคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 17.5 เมกะเฮิร์ตซ ทีโอทีครองคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ จำนวน 15 เมกะเฮิร์ตซ เอไอเอสครองคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 17.5 เมกะเฮิร์ตซ ดีแทคครองคลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 10 เมกะเฮิร์ตซ และ 1800 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 25 เมกะเฮิร์ตซ ดีพีซีครองคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 12.5 เมกะเฮิร์ตซ และทรูมูฟครองคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 12.5 เมกะเฮิร์ตซ.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น