วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

11 เรื่องกลุ้มของยาคุมฉุกเฉิน

11 เรื่องกลุ้มของยาคุมฉุกเฉิน องค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทยได้ประกาศเตือนสาวอยากสวย ให้ระวังยาเสริมความงามบางประเภท ที่โฆษณาในแผ่นพับว่าสามารถลดวัย สร้างผิวใส เคลียร์ฝ้า สิว และอีกจิปาถะสรรพคุณ ว่ามีอันตราย เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ประเภทหนึ่งของยาคุมกำเนิดที่ควรหลีกเลี่ยง และนี่คือความจริง ที่จะทำให้คุณเข้าสู่อันตรายระดับไอซียูของยาคุมฉุกเฉินที่เกินบรรยาย
1.ประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกในการซื้อการพกพา วิธีการกินไม่ยุ่งยากเหมือนยาคุมกำเนิดทั่วไป แต่ยาเม็ดคุมกำเนิดมีประโยชน์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
2.การใช้ยาชนิดเม็ดเป็นวิธีที่สะดวกและนิยมใช้มากที่สุด เดิมเรียกยากลุ่มนี้ว่า "ยาคุมกำเนิดหลังเพศสัมพันธ์" แต่ต่อมาเพื่อความเข้าใจและการใช้ที่ถูกต้องจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน" ซึ่งเป็นยากลุ่มที่มีผลต่อฮอร์โมนเพศทั้งสิ้นคือ ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนอย่างเดียว และฮอร์โมนรวม
3.กลไกการออกฤทธิ์ของเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ชนิด Levonorgerstrel หรือชนิดฮอร์โมนระหว่าง Estrogen และ Progestogen จะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกมีผลต่อภาวะฮอร์โมน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ อีกทั้งประสิทธิภาพไม่เทียบเท่ายาคุมปกติ และยิ่งเสี่ยงหากใช้บ่อยครั้ง
4.ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูงก็ต่อเมื่อ มีการนำมาใช้ตามข้อบ่งใช้ที่กำหนดไว้ และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยคือ การมีรอบเดือนผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน แต่หากใช้บ่อยและต่อเนื่องมีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
5.ผลการศึกษาพบว่า วิธีเลี่ยงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน นอกจากการใช้ถุงยางอนามัยที่มีสูงถึงร้อยละ75.1 แต่มีวิธีการคุมกำเนิดที่รองลงมา คือ การหลั่งภายนอก ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์สูงถึงร้อยละ 35.5 นับเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงทั้งการตั้งครรภ์และการติดโรค
6.ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันว่า แท้จริงแล้ว ไม่ใช่ยาแต่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งสูงกว่ายาคุมกำเนิดโดยทั่วไปถึง 2 เท่า ซึ่งจะต้องกินหลังร่วมเพศไม่เกิน 72 ชั่วโมง
7.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในกล่องยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 1 กล่องจะมียา 2 เม็ด ผู้ใช้ต้องกินทั้ง 2 เม็ด โดยกินเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมงหลังจากกินเม็ดแรกแล้ว เมื่อผู้ใช้กินเข้าไป ก็จะไประงับการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็จะมีผลข้างเคียง
8.ควรใช้ยานี้ยามฉุกเฉินในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์ หรือในกรณีที่ถูกข่มขืนเพื่อไม่ให้ตั้งครรภ์ จากข้อมูลจากแพทย์ระบุว่าในชีวิตไม่ควรจะใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเกิน 2 ครั้ง เพราะจะมีผลกับร่างกายของผู้หญิง เช่น การกระตุ้นเซลล์มะเร็ง หรือกระทบต่อรังไข่ มดลูก และร่างกายทั่วไป ซึ่งจะส่งผลทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
9.ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินควรใช้เมื่อมีความจำเป็น "ฉุกเฉิน" เท่านั้น เนื่องจากประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ ยังไม่สูงเท่ากับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติ โดยมีประสิทธิภาพป้องกันร้อยละ 58-95 ซึ่งขึ้นกับวิธีและระยะเวลาที่เริ่มใช้ โดยถ้ากินครั้งแรกภายใน24 ชั่วโมง พบว่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า การกินยามากกว่าขนาดที่กำหนดพบว่าไม่ได้ประโยชน์ แต่มีผลข้างเคียงมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว
10.แคลเซียม คือธาตุอาหารจำเป็นสำหรับหญิงสาว ๆ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า คุณควรกินแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม โดยอาจดื่มนมวันละสามแก้ว โยเกิร์ตสามถ้วย เนยแข็งหรือซีเรียล หรือน้ำผลไม้ แบบเสริมธาตุแคลเซียมวันละสามมื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากำลังใช้ยาคุมกำเนิด คุณยิ่งจำเป็นจะต้องได้รับแคลเซียม ตามปริมาณที่องค์การอาหารและยาแนะนำ
11.มีผลงานวิจัยบ่งชี้ว่า ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดนั้น หากได้รับแคลเซียมน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ จะสูญเสียภาวะมวลกระดูกมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ยาคุม ในช่วงวัย 20 และอายุ30 กว่านี้ หากคุณสูญเสียมวลกระดูกมาก โอกาสที่ต่อไปจะเป็นโรคกระดูกพรุน เมื่อสูงวัยขึ้นย่อมมีมาก ทำให้กระดูกเปราะและหักได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น