วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แอลกอฮอล์! ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์

มีวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส หรือ เฟรนพาราดอกซ์ (French aradox) งานวิจัยนี้ ศึกษาคนที่ดื่มไวน์เป็นประจำ แต่มีปัญหาโรคหัวใจน้อย ทั้งๆ ที่กินอาหารไขมันสูง ความดี จึงถูกยกให้กับสารแอนติออกซิแดนท์ในไวน์แดง แต่นักวิจัยเชื่อว่าสิ่งที่ป้องกัน โรคหัวใจที่แท้จริงคือแอลกอฮอล์ในไวน์ ซึ่งน่าจะหมายความว่าไม่ว่าเบียร์ ไวน์ หรือวิสกี้ อาจให้ประโยชน์ต่อหัวใจพอๆ กันถ้าดื่มพอควร แอกอฮอล์กับหัวใจ
ข้อดี : แอลกอฮอล์ช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอลซึ่งเป็นคอเลสเทอรอลที่ดี ลดการแข็งตัว ของเกร็ดเลือด ลดการดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงจาก เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและในผู้ที่มีประวัติหัวใจวายมาก่อน ปัจจุบันนักวิจัยชาวยุโรป เชื่อว่าแอลกอฮอล์เกี่ยวข้องกับระดับสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น สารซีอาร์พี หากทำให้ สารนี้ลดลงจะป้องกันโรคหัวใจได้
ข้อเสีย : การดื่มแอลกอฮอลล์วันละ 3 ดริ๊งค์ขึ้นไปอาจทำให้อ้วน เพิ่มความเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เส้นเลือดสมองตีบหรือแตก หัวใจ ล้มเหลว ดร.ร็อค แจ็คสัน นักระบาดวิทยาไม่เชื่อในข้อดีของแอลกอฮอลล์เพราะข้อมูลการ วิจัยส่วนใหญ่ไม่สามารถพิสูจน์ผลได้ว่าแอลกอฮอลล์ให้ผลดีต่อหัวใจจริง
แอลกอฮอล์และสมอง .......
ข้อดี : การดื่มพอควรช่วยป้องกันความเสี่ยงอัลไซเมอร์และความจำเสื่อม เมื่อนักวิจัย แห่งศูนย์การแพทย์เบธอิสราเอดีคอเนสในรัฐบอสตัน เปรียบเทียบผู้ที่ไม่ดื่มเลยกับผู้ที่ดื่ม สัปดาห์ละ1-6 ดริ๊งค์ โดยใช้อาสาสมัคร6,000 คน พบว่าผู้ที่ดื่มมีความเสี่ยงโรคความจำ เสื่อมน้อยกว่า งานวิจัยจากฮาร์วาร์ดยังแสดงว่าผู้หญิงที่ดื่มวันละดริ๊งค์มีความเสี่ยงจากส โตร๊คชนิดหลอดเลือดแดงอุดตันเพียงครึ่งเดียว
ข้อเสีย : การดื่มมากเร่งให้สมองเสื่อมเร็ว ร่างกายขาดวิตามิน บี1 ถ้ารุนแรงอาจทำให้ ความจำ การเรียนรู้ลดลง เพิ่มความเสี่ยงสโตร๊ค
แอลกอฮอล์และเบาหวาน
ข้อดี : การดื่มในระดับน้อยถึงปานกลาง ช่วยลดความเสี่ยงเบาหวานลงได้ 36 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังลดความเสี่ยงโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานด้วย
ข้อเสีย : ทำให้อ้วนเพราะแอลกอฮลล์ให้แคลอรีสูง ซึ่งอาจนำมาสู่โรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ ผู้ดื่มหนักอาจเสี่ยงโรคเมตาบอลิกซินโดรม (อ้วนลงพุงร่วมกับร่างกายดื้อต่อ อินซูลิน ความดันโลหิตสูง คอเลสเทอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง รวมทั้งอันตรายต่อตับ) โดยเฉพาะในผู้ที่เริ่มดื่มเมื่ออายุยังน้อย
แอลกอฮล์และโรคมะเร็ง
ข้อดี : ไวน์แดงและเบียร์ดำมีสารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์สูง (เช่นเดียวกับผลไม้ ผัก และชา) ช่วยป้องกันมะเร็งได้ ฮอพซึ่งใช้ผลิตเบียร์มีสารแอนติออก ซิแดนท์ที่ชื่อว่าแซนโทฮูมอล (xanthohumol) ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งและ เพิ่มฤทธิ์เอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านมะเร็ง
ข้อเสีย : การดื่มมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งในช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะ ตับ เต้านม และลำไส้ใหญ่ สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาเน้นว่าการดื่มเพียงวันละดริ๊งค์ก็ อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้แล้ว
แอลกอฮอล์และกระดูก
ข้อดี : นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟพบว่าเบียร์มีสารซิลิคอนสูง ซึ่งช่วยสะสมแคลเซียม และแร่ธาตุอื่นๆในกระดูก ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกสะโพก ป้องกันกระดูกแตกหัก
ข้อเสีย : ซิลิคอนพบมากในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะธัญพืชไม่ขัดสีและผักประเภทราก จึงไม่จำเป็นต้องดื่มจากเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์รบกวนการสร้างกระดูกและการทำงานของ แคลเซียม วิตามินดี และฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุนและทำให้กระดูก แตกหักจากการหกล้มได้ง่าย
ความอ้วนกับแอลกอฮอล์
แคลอรีจากแอลกอฮอล์มักสะสมที่พุงมากกว่าแคลอรีจากอาหารชนิดอื่นๆ แต่การดื่ม น้อยกลับเป็นผลดีในการลดพุงได้ แต่ต้องเป็นวันละ 1 ดริ๊งค์เท่านั้น งานวิจัยจากคลินิกเม โยในผู้ใหญ่ 8,200 คนพบว่า ผู้ที่ดื่มวันละดริ๊งลดความเสี่ยงพุงพลุ้ยลงถึง 54 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่การดื่มมากกว่า 4 ดริ๊งค์ขึ้นไปเพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน 46 เปอร์เซ็นต์ เพราะแคลอรีที่ได้จากอาหารจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ยกเว้นว่า เพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น ไวน์แก้วขนาด 150 มล. หรือเบียร์ประมาณ 360 มล.(1 กระป๋อง) ให้พลังงานเฉลี่ย 100-150 แคลอรี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผสมเครื่องดื่มอย่าง อื่นอาจมีพลังงานสูงถึงหลายร้อยแคลอรี ยิ่งกว่านั้นเมื่อเวลาที่ดื่มสังสรรค์มักจะมีอาหารที่มี แคลอรีสูงกินร่วมด้วย จึงทำให้อ้วนได้ง่าย
การดื่มแอกอฮอล์พอประมาณให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้ แต่ไม่จำเป็นที่ต้องแนะนำให้ ดื่มเพื่อสุขภาพ ผู้ที่ควรงดได้แก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร หรือผู้ขับขี่ยานพาหนะ ผู้ที่ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ผู้มีปัญหาไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ตับอ่อนอักเสบ หัวใจล้มเหลว หรือผู้รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ถึงความปลอดภัยในการดื่มด้วย เพราะแอลกอฮอล์อาจมีผลรบกวนต่อการทำงานของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น