จากข้อมูลการจัดอันดับล่าสุดของเว็บไซต์ "สมาร์ตทราเวลดอตคอม" ที่มีการสำรวจความเห็นของผู้เดินทางทั่วโลกเปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทยนั้นได้รับการจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานยอดเยี่ยมอันดับที่ 4 ของโลก รองจากท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี และท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย
ชื่อสนามบิน
ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545
ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการถ่ายตัวสะกดภาษาสันสกฤต ว่า "Suvarnabhumi" แทนการเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสะกดว่า "Suwannaphum"
ประวัติ
ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545
ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการถ่ายตัวสะกดภาษาสันสกฤต ว่า "Suvarnabhumi" แทนการเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งสะกดว่า "Suwannaphum"
ประวัติ
รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ซื้อที่ดินหนองน้ำ 20,000 ไร่ บริเวณหนองงูเห่า จังหวัดสมุทรปราการในปี พ.ศ. 2516 สำหรับสร้างสนามบินใหม่ สนามบินมีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว และด้านอื่นของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงกำหนดให้ การก่อสร้าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องร่วมกันดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย จึงได้เร่งการก่อสร้างตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2545 และรัฐบาล จึงจัดตั้ง บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด เพื่อบริหารงานโครงการก่อสร้างและพัฒนาท่าอากาศยานแห่งใหม่ และเมื่อ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เสร็จสิ้นการก่อสร้างลง บทม.จึงต้องปิดบริษัท เพื่อโอนกิจการทั้งหมด ไปเป็น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยตรง
สนามบินได้เปิดทดลองใช้ในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเซีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และ โอเรียนท์ไทย โดยมีจำนวนผู้โดยสาร 4,800 คน จาก 24 เที่ยวบิน โดยพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางจากสนามบินดอนเมืองมายังสนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ ได้มีกิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงการแจกประกาศนียบัตรและบัตรโดยสารที่ระลึกแก่ผู้ร่วมเที่ยวบิน การนำผู้สนใจเยี่ยมชมบริเวณสนามบินโดยมัคคุเทศก์อาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกับการท่าอากาศยาน และรถโดยสาร ขสมก. ได้จัดเส้นทางพิเศษเพื่อเข้าชมสนามบินและสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง
นอกจากนี้รัฐบาลคาดว่าจะได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางอากาศ ภายใต้มาตรฐานนานาชาติที่ออกโดย องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และ สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เพื่อเปิดใช้ในทางพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 (เริ่มย้ายและให้บินขึ้นลงได้ตั้งแต่ 15 กันยายน) และกำหนดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันแรกของการทดลองบินของสายการบินจากต่างประเทศ ในการเริ่มการบินของสายการบินภายในประเทศวันแรก ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วง 1:00-6:10 น. ทำให้ประสบปัญหาในการเช็คอินของสายการบินในช่วงเวลานั้น
ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร คณะรัฐประหารตัดสินใจยึดกำหนดการเปิดสนามบินอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ตามเดิม
ในโอกาสเปิดสนามบิน ไปรษณีย์ไทยได้จัดทำแสตมป์ที่ระลึกจำนวน 18 ล้านดวง เป็นภาพอาคารผู้โดยสาร พร้อมเครื่องบิน และตราสัญลักษณ์บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ชนิดราคา 3 บาท พร้อมซองวันแรกจำหน่ายราคาซองละ 10 บาท จำหน่ายวันที่ 28 กันยายน เป็นวันแรก
สนามบินได้เปิดทดลองใช้ในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเซีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และ โอเรียนท์ไทย โดยมีจำนวนผู้โดยสาร 4,800 คน จาก 24 เที่ยวบิน โดยพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เดินทางจากสนามบินดอนเมืองมายังสนามบินสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ ได้มีกิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงการแจกประกาศนียบัตรและบัตรโดยสารที่ระลึกแก่ผู้ร่วมเที่ยวบิน การนำผู้สนใจเยี่ยมชมบริเวณสนามบินโดยมัคคุเทศก์อาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกับการท่าอากาศยาน และรถโดยสาร ขสมก. ได้จัดเส้นทางพิเศษเพื่อเข้าชมสนามบินและสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง
นอกจากนี้รัฐบาลคาดว่าจะได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางอากาศ ภายใต้มาตรฐานนานาชาติที่ออกโดย องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และ สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เพื่อเปิดใช้ในทางพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 (เริ่มย้ายและให้บินขึ้นลงได้ตั้งแต่ 15 กันยายน) และกำหนดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันแรกของการทดลองบินของสายการบินจากต่างประเทศ ในการเริ่มการบินของสายการบินภายในประเทศวันแรก ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วง 1:00-6:10 น. ทำให้ประสบปัญหาในการเช็คอินของสายการบินในช่วงเวลานั้น
ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร คณะรัฐประหารตัดสินใจยึดกำหนดการเปิดสนามบินอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ตามเดิม
ในโอกาสเปิดสนามบิน ไปรษณีย์ไทยได้จัดทำแสตมป์ที่ระลึกจำนวน 18 ล้านดวง เป็นภาพอาคารผู้โดยสาร พร้อมเครื่องบิน และตราสัญลักษณ์บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ชนิดราคา 3 บาท พร้อมซองวันแรกจำหน่ายราคาซองละ 10 บาท จำหน่ายวันที่ 28 กันยายน เป็นวันแรก
สนามบินสุวรรณภูมิมีทางเข้าออกทั้งหมด 6 เส้นทาง โดย 5 เส้นทางสำหรับรถยนต์ รถแท็กซี่ รถโดยสารขสมก และรถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรส จากทาง (1) ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (มอเตอร์เวย์) (2) ถนนร่มเกล้า และ ถนนกิ่งแก้ว (3) ถนนบางนา-ตราดและทางพิเศษบูรพาวิถี (4) ถนนอ่อนนุช และ (5) ถนนกิ่งแก้ว โดยเส้นทางที่ 6 เป็นเส้นทางสำหรับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายพญาไท – มักกะสัน – สุวรรณภูมิ วิ่งเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
สำหรับรถส่วนบุคคล มีอาคารจอดรถ 2 อาคารรับรองได้ 5,000 คัน สำหรับการจอดรถระยะสั้น และลานกว้างขนาดใหญ่สำหรับการจอดรถระยะยาวโดยจะมีรถชัตเติลบัสบริการ
รถแท็กซี่สามารถเข้าส่งผู้โดยสารที่จุดจอดขาออกที่ชั้น 4 และสามารถจอดรอรับผู้โดยสารได้ที่ชั้น 2 สำหรับรอรับผู้โดยสารขาเข้า
รถโดยสารของขสมก บริการในราคาปกติเพิ่มอีก 10 บาท เมื่อเข้า-ออกบริเวณพื้นที่ของท่าอากาศยาน โดยมีบริการทั้งหมด 11 เส้นทาง โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่บางกะปิ แฮปปี้แลนด์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คลองเตย จังหวัดสมุทรปราการ 2 เส้นทาง (แบ่งเป็น เส้นทางผ่านถนนสุขุมวิท และเส้นทางผ่านถนนศรีนครินทร์) รังสิต 3 เส้นทาง (แบ่งเป็น เส้นทางผ่านถนนรามอินทรา เส้นทางผ่านถนนวิภาวดีรังสิต และเส้นทางผ่านถนนรังสิต-นครนายก) สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ (ใหม่) และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาพระราม 2
รถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรสบริการในราคาไม่เกิน 150 บาท มีบริการทั้งหมด 4 เส้นทาง โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่สีลม บางลำพู ถนนวิทยุ และหัวลำโพง
รถเมล์ปรับอากาศ ที่เดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 549 เส้นทาง มีนบุรี - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 550 เส้นทาง แฮปปี้แลนด์ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 551 เส้นทาง อนุสาวรีชัยสมรภูมิ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 552 เส้นทาง อู่คลองเตย - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 552A เส้นทาง สมุทรปราการ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนสุขุมวิท
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 553 เส้นทาง สมุทรปราการ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนศรีนครินทร์
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 554 เส้นทาง รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนรามอินทรา วงแหวนรอบนอกตะวันออก
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 555 เส้นทาง รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนวิภาวดีรังสิต
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 556 เส้นทาง ทางด่วน สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 558 เส้นทาง ทางด่วน เซ็นทรัลพระราม 2 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 559 เส้นทาง รังสิต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สำหรับรถส่วนบุคคล มีอาคารจอดรถ 2 อาคารรับรองได้ 5,000 คัน สำหรับการจอดรถระยะสั้น และลานกว้างขนาดใหญ่สำหรับการจอดรถระยะยาวโดยจะมีรถชัตเติลบัสบริการ
รถแท็กซี่สามารถเข้าส่งผู้โดยสารที่จุดจอดขาออกที่ชั้น 4 และสามารถจอดรอรับผู้โดยสารได้ที่ชั้น 2 สำหรับรอรับผู้โดยสารขาเข้า
รถโดยสารของขสมก บริการในราคาปกติเพิ่มอีก 10 บาท เมื่อเข้า-ออกบริเวณพื้นที่ของท่าอากาศยาน โดยมีบริการทั้งหมด 11 เส้นทาง โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่บางกะปิ แฮปปี้แลนด์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คลองเตย จังหวัดสมุทรปราการ 2 เส้นทาง (แบ่งเป็น เส้นทางผ่านถนนสุขุมวิท และเส้นทางผ่านถนนศรีนครินทร์) รังสิต 3 เส้นทาง (แบ่งเป็น เส้นทางผ่านถนนรามอินทรา เส้นทางผ่านถนนวิภาวดีรังสิต และเส้นทางผ่านถนนรังสิต-นครนายก) สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ (ใหม่) และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาพระราม 2
รถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรสบริการในราคาไม่เกิน 150 บาท มีบริการทั้งหมด 4 เส้นทาง โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่สีลม บางลำพู ถนนวิทยุ และหัวลำโพง
รถเมล์ปรับอากาศ ที่เดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 549 เส้นทาง มีนบุรี - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 550 เส้นทาง แฮปปี้แลนด์ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 551 เส้นทาง อนุสาวรีชัยสมรภูมิ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 552 เส้นทาง อู่คลองเตย - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 552A เส้นทาง สมุทรปราการ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนสุขุมวิท
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 553 เส้นทาง สมุทรปราการ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนศรีนครินทร์
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 554 เส้นทาง รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนรามอินทรา วงแหวนรอบนอกตะวันออก
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 555 เส้นทาง รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านถนนวิภาวดีรังสิต
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 556 เส้นทาง ทางด่วน สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (สายใต้) - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 558 เส้นทาง ทางด่วน เซ็นทรัลพระราม 2 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถเมล์ปรับอากาศสายที่ 559 เส้นทาง รังสิต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น